ทำบุญ

วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ประวัติเครื่องดนตรีไทย

                      เป็นแบบอย่างมาจากอินเดียโบราณ ที่สันนิษฐานกันอย่างนี้คงเป็นเพราะ ในสมัยสุโขทัยเรา ได้รับอิทธิพลทางศาสนา ภาษา ศิลปะ วัฒนธรรมด้านนาฏศิลป์และการละครมาจากอินเดีย จึงเกิดความเชื่อว่าเราคงได้รับอิทธิพลทางดนตรีมาด้วย ทั้งนี้เพราะการศึกษาเรื่องราวของดนตรี เป็นการค้นหา หลักฐานสืบประวัติได้ยาก
         
ที่สุด เพราะดนตรีเป็นการเลียนเสียงธรรมชาติ จึงเป็นการยากที่จะใช้เครื่องมือต่างๆ บันทึกเสียง ดนตรีเหล่านั้นไว้เป็นหลักฐาน และใน สมัยก่อนยังไม่มีผู้ประดิษฐ์เครื่องบันทึกเสียงขึ้น นอกจากจะมีผู้จดจำ ทำนองเพลงต่างๆขึ้นแล้วยอมถ่ายทอดให้คนอื่น ได้ฟังเพลงนั้นบ้าง โดยเฉพาะ ดนตรีไทยเพิ่งมีการบันทึกเป็นโน๊ตตัวเลขเป็นครั้งแรก เมื่อสมัยรัชกาลที่ 6 นี้เองโดยการคิดขึ้นของหลวงประดิษฐ์ไพเราะในเรื่องของการถ่ายทอดเพลงถ้าไม่ใช่ศิษย์รักจริงๆ ครูก็ไม่ถ่ายทอดให้ ในที่สุดเพลงนั้นก็ตายไปกับครู เพลงที่เหลืออยู่ก็ มักไม่ปรากฏหลักฐานแน่
                     ไทยมีดนตรีประจำชาติที่ประดิษฐ์ขึ้นใช้เองจากทรัพยากรธรรมชาติซึ่งมีอยู่อย่าง อุดมสมบูรณ์ในท้องถิ่นเช่นไม้ไผ่ ไม้ เขาสัตว์ หนังสัตว์ ฯลฯ เครื่องดนตรีดั้งเดิมของไทยมีชื่อเรียกตาม สำเนียงเสียง ของเครื่องดนตรี
นั้นๆ โดยบัญญัติคำที่มีลักษณะเป็นคำไทยคือ คำโดด เช่น เกราะ โกร่ง ฆ้อง กลอง กรับ ฉาบ ฉิ่ง ปี่ ขลุ่ย เพียะ
         
ซอ และแคน ต่อมามีการประดิษฐ์คิดเพิ่มเติมขึ้นเรื่อยๆ เช่นเอาไม้มาทำอย่างเดียวกับกรับ แล้วเอาวางเรียงกันไปหลายๆ อันโดยทำให้มีเสียงสูงต่ำไล่กันไปตามลำดับ แล้วเอาเชือกมา ร้อยหัวท้ายของกรับให้ติดกันเป็นพืดขึงบนรางไม้ เราเรียกว่า "ระนาด" เป็นต้น
                      เมื่อชนชาวไทยอพยพลงมาตั้งถิ่นฐานทางใต้ ได้มาพบเครื่องดนตรีของอินเดียซึ่งชนชาติมอญเขมร
         รับไว้ก่อนจึงรับเอาดนตรีแบบอินเดียผสมกับแบบมอญ เขมร เข้ามาปะปนกับเครื่องดนตรีไทย ทำให้เกิดเครื่อง
         ดนตรีชนิดใหม่ขึ้นหลายอย่างเช่น พิณ สังข์ ปี่ไฉน บัณเฑาะว์ กระจับปี่ จะเข้ และโทน ทับ เป็นต้นต่อมาเมื่อมีความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านและประเทศตะวันตก ได้มีการนำเครื่องดนตรีของประเทศ เหล่านั้นมา
         
ผสมเล่นกับวงดนตรีของไทยด้วย เป็นการผสมกลมกลืนความแปลกใหม่เพิ่มรสชาติเพิ่มขึ้นอีก เช่น กลองแขกแงชวา กลองแขกของมลายู เปิงมางของมอญ กลอง ไวโอลิน ออร์แกน และเปียโน เป็นต้น

ฆ้องมอญ


                         ฆ้องมอญ เป็นฆ้องวงที่ตั้งโค้งขึ้นไปทั้งสองข้าง ไม่วางราบไปกับพื้นเหมือนกับฆ้องไทย วงฆ้องส่วนที่โค้งขึ้นไปนั้น แกะสลักเป็นลวดลายปิดทองประดับกระจกอย่างงดงาม ส่วนมากมักแกะเป็น รูปกินนร เรียกกันว่าหน้าพระ  ตอนกลางโค้งแกะเป็นกระหนกใบเทศปิดทองประดับกระจกเช่นกัน มีเท้า รองตรงกลางเหมือนกับเท้าของระนาดเอก ฆ้องมอญวงหนึ่ง ๆ มีจำนวน 15 ลูก สำหรับใช้บรรเลงใน วงปี่ พาทย์รามัญ หรือปี่พาทย์มอญ วงฆ้องมอญมีการแยกขนาดแบบไทย คือมีฆ้องมอญใหญ่ และ ฆ้องมอญเล็ก
                      ฆ้องเป็นเครื่องดนตรีเก่าแก่ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ดังมีภาพจารึก อยู่ที่หน้ากลอง มโหรทึก อายุราว 2,500 ปีมาแล้ว ซึ่งหน้าตาของฆ้องที่ปรากฎนั้นก็ยังเหมือนกับฆ้องที่เราพบเห็นกันอยู่ใน ปัจจุบันนี้
                      สำหรับฆ้องมอญแล้ว เป็นเครื่องดนตรีเก่าแก่ของมอญ เรียกว่าเป็นเครื่องดนตรีชิ้นครูก็ว่าได้ เพราะสามารถใช้เทียบเสียงในการตั้งเสียงเครื่องดนตรีชนิดอื่น ๆ ให้มีระดับเดียวกัน และกลมกลืน ขณะ บรรเลงร่วมกัน แม้ฆ้องจะมีอยู่ในวงดนตรีของหลายชาติหลายภาษาทว่ารูปแบบของฆ้องมอญ นั้นมีเอก ลักษณ์เฉพาะตัวที่โดดเด่นดังจะเห็นได้ว่าแต่เดิมในการบรรเลงดนตรีปี่พาทย์มอญ นั้นจะตั้งฆ้องเอาไว้หลัง สุด เพราะฆ้องมีความสูงจะได้ไม่บังเครื่องดนตรีและผู้เล่นคนอื่น แต่ในปัจจุบันกลับเปลี่ยนความนิยมใหม่ นำฆ้องมาวางข้างหน้า ยิ่งมากยิ่งดี เพราะต้องการแสดงให้เห็นความอ่อนช้อยสวยงามของร้านฆ้องมอญ อย่างการแสดงลิเกในปัจจุบันนั้นเห็นได้ชัดที่สุด มักนำฆ้องมอญขึ้นไปวางบรรเลงในชั้นบนจำนวนหลาย
ร้าน เต็มความกว้างของเวที ประดับประดาขนนกยูงเพิ่มความสวยงาม นับเป็นจุดขายอีกอย่างหนึ่ง
                          เป็นฆ้องวงที่ตั้งโค้งขึ้นไปทั้ง 2 ข้าง ไม่วางลงราบไปกับพื้น เหมือนฆ้องไทย ฆ้องมอญวงหนึ่งมีจำนวน 15 ลูก ร้านฆ้องวงมักประดิษฐ์แต่งกันอย่างสวยงาม เช่น แกะสลักเป็นลวดลาย ปิดทองประดับกระจก ฆ้องมอญใช้บรรเลงในวงปี่พาทย์มอญ ซึ่งในปัจจุบัน นิยมใช้บรรเลงประโคมในงานศพ ฆ้องมอญมี 2 ชนิด เช่นเดียวกับฆ้องวงของไทย คือ ฆ้องมอญวงใหญ่ และฆ้องมอญวงเล็ก
1. การบรรเลงฆ้องวง ผู้เล่นต้องนั่งให้ตรงกลางฆ้องวง วิธีการนั่ง นั่งได้ทั้งพับเพียบหรือขัดสมาธิ การจับ     ไม้ตีฆ้องวงผู้บรรเลงต้องรวบนิ้วกลางนิ้วนางและนิ้วก้อย กำไม้ฆ้องไว้กับฝ่ามือ ใช้นิ้วโป้งและ นิ้วชี้เป็น      ตัวประคอง ให้นิ้วชี้ชิดกับหัวไม้
2. การเก็บไม้ตีฆ้อง ควรมีถุงใส่ หรือวางรวมกันไว้บนลูกฆ้อง ไม่ควรวางกับพื้น
3. การทำความสะอาด ควรใช้ผ้าแห้งหรือผ้าหมาดๆทำความสะอาด
4. ควรวางฆ้องวงให้ราบกับพื้น ไม่ควรวางหรือตั้งพิงไว้ข้างฝาผนัง เพราะอาจทำให้ฆ้องวงล้มอาจหักได้
5. การยกฆ้องวง ไม่ควรยกเพียงคนเดียวเนื่องจากเป็นเครื่องตีที่มีน้ำหนักมากและขนาดใหญ่ ควรจะยกฆ้อง     ให้ตั้งฉาก หรือขนานกับพื้น ห้ามกับด้าน

ฆ้องวงเล็ก



        
                         ปรากฏว่าสร้างกันขึ้นเมื่อรัชกาลที่ 3 กรุงรัตนโกสินทร์ โดยมีคณาจารย์ทางดุริยางคศิลป คิดประดิษฐ์ฆ้องขึ้นอีกขนาดหนึ่งเหมือนกับฆ้องวงก่อน(15)ทุกอย่าง แต่ขนาดย่อมกว่าเล็กน้อย วัดจากขอบ วงด้านซ้ายมือถึงขอบวงในด้านขวา กว้างประมาณ 80 ซม. จากด้านหน้าไปด้านหลัง 60 ซม. เรือนฆ้องสูง
20 ซม. วงหนึ่งมีจำนวน 18 ลูก ลูกต้นวัดผ่านศูนย์กลางประมาณ 9.5 ซม. ใช้บรรเลงร่วมในวงปี่พาทย์ แต่นั้น มาปี่วงพาทย์ วงหนึ่งๆ จะใช้ฆ้อง 2 วง ก็ได้เรียกฆ้องวงใหญ่แต่เดิมว่า " ฆ้องวงใหญ่ " และฆ้องวงขนาดเล็ก ที่ประดิษญ์สร้างขึ้นใหม่นี้เรียกว่า"ฆ้องวงเล็ก" และฆ้องวงทั้ง 2 วงนี้ นอกจากจะใช้บรรเลง ร่วมในวงปี่ พาทย์แล้ว ต่อมาได้ย่อขนาดสร้างขึ้นให้ย่อมลงอีกและใช้บรรเลงในวงมโหรีด้วย
      
                        สำหรับฆ้องวงเล็ก สร้างขึ้นเมื่อรัชกาลที่ 3 โดยมีลักษณะเหมือนฆ้องวงใหญ่ทุกอย่าง แต่มี ีขนาดย่อมกว่า และมีลูกฆ้องมากกว่า คือ 18 ลูก ใช้บรรเลงเก็บเช่นเดียวกับระนาดเอก
1. การบรรเลงฆ้องวง ผู้เล่นต้องนั่งให้ตรงกลางฆ้องวง วิธีการนั่ง นั่งได้ทั้งพับเพียบหรือขัดสมาธิ การจับ     ไม้ตีฆ้องวงผู้บรรเลงต้องรวบนิ้วกลางนิ้วนางและนิ้วก้อย กำไม้ฆ้องไว้กับฝ่ามือ ใช้นิ้วโป้ง และนิ้วชี้      เป็นตัวประคอง ให้นิ้วชี้ชิดกับหัวไม้
2. การเก็บไม้ตีฆ้อง ควรมีถุงใส่ หรือวางรวมกันไว้บนลูกฆ้อง ไม่ควรวางกับพื้น
3. การทำความสะอาด ควรใช้ผ้าแห้งหรือผ้าหมาดๆทำความสะอาด
4. ควรวางฆ้องวงให้ราบกับพื้น ไม่ควรวางหรือตั้งพิงไว้ข้างฝาผนัง เพราะอาจทำให้ฆ้องวงล้มอาจหักได้
5. การยกฆ้องวง ไม่ควรยกเพียงคนเดียวเนื่องจากเป็นเครื่องตีที่มีน้ำหนักมากและขนาดใหญ่ ควรจะยกฆ้อง     ให้ตั้งฉาก หรือขนานกับพื้น ห้ามกับด้าน

ฆ้องวงใหญ่



                     ฆ้องวงเป็นเครื่องตีที่คิดประดิษฐ์สร้างให้มีวิวัฒนาการมาโดยลำดับ จากฆ้องเดี่ยว
ฆ้องคู่  และฆ้องราง  ฆ้องวงใช้ต้นหวายโป่ง ทำเป็นร้านสูงประมาณ 24 เซนติเมตร หวายเส้นนอกกับเส้นใน ห่างกันประมาณ 14  - 17 เซนติเมตร ดัดโค้งไปเกือบรอบตัวคนนั่งตีเปิดช่องไว้สำหรับทางเข้าด้านหลังคนตี
ห่างกันราว 20 – 30 เซนติเมตร ขนาดความกว้างจากขอบวงในทางซ้าย ไปถึงขอบวงในทางขวากว้าง ประมาณ 82 เซนติเมตร จากด้านหน้าไปด้านหลัง กว้างประมาณ 66 เซนติเมตร ให้คนนั่งตีนั่งขัดสมาธิ นั่งตีได้สบาย แล้วเจาะรูลูกฆ้อง ลูกละ 4 รู ใช้เชือกหนังผูกร้อยกับเรือนฆ้องให้ปุ่มของลูกฆ้องหงาย ขึ้นผูก เรียงลำดับขนาด ลูกต้นไปหาลูกยอดตั้งแต่ใหญ่ไปหาเล็ก เรียงลำดับเสียงจากต่ำไปหาสูง ฆ้องวงหนึ่ง มีจำนวน 16 ลูก ลูกต้นวัดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 17  เซนติเมตร อยู่ทางซ้ายมือด้านหลังผู้ตี ลูกยอดวัด ผ่านศูนย์กลางประมาณ 12 เซนติเมตร อยู่ทางขวามือด้านหลังผู้ตี และใช้ตีด้วย ไม้ตีทำด้วยแผ่นหนังดิบตัด
ไม้ตีทำด้วยแผ่นหนังดิบตัดเป็นวงกลม เจาะกลางสอดไม้สำหรับมือถือ วงหนึ่งใช้ไม้  ตี 2 อัน ถือตีข้างละมือ
                      ฆ้องวงใหญ่ใช้ต้นหวายดัดโค้งเป็นวงล้อมไปเกือบรอบตัว คนนั่นตีเรียกว่า "ร้าน" เปิดช่อง ไว้สำหรับเป็นทางเข้าด้านหลังคนตี ลูกฆ้องวงใหญ่มี 16 ลูกขนาดตั้งแต่ใหญ่ไปหาเล็ก เรียงลำดับ ตั้งแต่เสียง ต่ำไปหาเสียงสูง ฆ้องวงใหญ่ใช้บรรเลงทำนองหลักของเพลง ผู้ที่จะหัดปี่พาทย์ควรเริ่มหัดตีฆ้องวงใหญ่ก่อน เพื่อจะได้เป็นรากฐานทางดนตรีที่มั่นคง
1. การบรรเลงฆ้องวง ผู้เล่นต้องนั่งให้ตรงกลางฆ้องวง วิธีการนั่ง นั่งได้ทั้งพับเพียบหรือขัดสมาธิ การจับไม้      ตีฆ้องวงผู้บรรเลงต้องรวบนิ้วกลางนิ้วนางและนิ้วก้อย กำไม้ฆ้องไว้กับฝ่ามือ ใช้นิ้วโป้ง และนิ้วชี้เป็น      ตัวประคอง ให้นิ้วชี้ชิดกับหัวไม้
2. การเก็บไม้ตีฆ้อง ควรมีถุงใส่ หรือวางรวมกันไว้บนลูกฆ้อง ไม่ควรวางกับพื้น
3. การทำความสะอาด ควรใช้ผ้าแห้งหรือผ้าหมาดๆทำความสะอาด
4. ควรวางฆ้องวงให้ราบกับพื้น ไม่ควรวางหรือตั้งพิงไว้ข้างฝาผนัง เพราะอาจทำให้ฆ้องวงล้มอาจหักได้
5. การยกฆ้องวง ไม่ควรยกเพียงคนเดียวเนื่องจากเป็นเครื่องตีที่มีน้ำหนักมากและขนาดใหญ่ ควรจะยกฆ้อง     ให้ตั้งฉาก หรือขนานกับพื้น ห้ามกับด้าน

ระนาดเอก


ตัวอย่างเสียง
                       ระนาดเอกเป็นเครื่องตีชนิดหนึ่ง ที่วิวัฒนาการมาจากกรับ แต่เดิมคงใช้กรับสอง อันตีเป็น จังหวะ ต่อมาก็เกิดความคิดว่า ถ้าเอากรับหลาย ๆ อันวางเรียงราดลงไป แล้วแก้ไขประดิษฐ์ให้มีขนาด ลดหลั่นกัน แล้วทำรางรองอุ้มเสียง และใช้เชือกร้อยไม้กรับขนาดต่าง ๆ กันนั้นให้ติดกัน และขึง ไว้บน รางใช้ไม้ตีให้เกิดเสียง นำตะกั่วผสมกับขี้ผึ้งมาถ่วงเสียงโดยนำมาติดหัวท้ายของไม้กรับนั้น ให้เกิดเสียง ไพเราะยิ่งขึ้น เรียกไม้กรับที่ประดิษฐ์เป็นขนาดต่างๆกันนั้นว่า ลูกระนาด เรียกลูกระนาดที่ผูกติดกันเป็น แผ่นเดียวกันว่าลูกระนาดนี้ทำด้วยหรือไม้แก่น เช่น ไม้ไผ่บง ไม้มะหาด ไม้พะยุงก็ได้ โดยนำมาเหลา ให้ ได้ตามขนาดที่ต้องการ แล้วทำรางเพื่ออุ้มเสียงเป็นรูปคล้ายลำเรือ ให้หัวและท้ายโค้งขึ้น เรียกว่า รางระนาด แผ่นไม้ที่ปิดหัวท้ายรางระนาดเราเรียกว่า โขน ระนาดเอกในปัจจุบันมีจำนวน 21 ลูก ลูกต้นมีขนาด 39 ซม กว้างราว 5 ซม และหนา 1.5 ซม มีขนาดลดหลั่นลงไปจนถึงลูกที่ 21 หรือลูกยอดที่มีขนาด 29 ซม เมื่อนำ ผืนระนาด มาแขวนบนรางแล้ว หากวัดจากโขนหัวรางข้างหนึ่งไปยังโขนหัวรางอีกข้างหนึ่ง จะมีความยาว ประมาณ 120 ซม มีเท้ารองรางเป็นเท้าเดี่ยว รูปคล้ายกับพานแว่นฟ้า
                        ระนาดเอก ที่ให้เสียงนุ่มนวล นิยมทำด้วยไม้ไผ่บง ถ้าต้องการ ให้ได้เสียงเกรียวกราวนิยม ทำด้วย ไม้แก่น ลูกระนาดมี 21 ลูก ลูกที่ 21 หรือลูกยอด จะมีขนาดสั้นที่สุด ลูกระนาด จะร้อยไว้ด้วยเชือก ติดกัน เป็นผืนแขวนไว้บนราง ซึ่งทำด้วย ไม้เนื้อแข็งรูปร่างคล้ายเรือ ด้ามหัวและท้ายโค้งขึ้นเพื่อให้อุ้มเสียง มีแผ่น ไม้ปิดหัวและท้ายรางเรียกว่า "โขน" ฐานรูปสี่เหลี่ยมเรียกว่า " ปี่พาทย์ไม้แข็ง" ไม้ตีอีกชนิดหนึ่งทำ ด้วยวัสดุที่ นุ่มกว่า ใช้ผ้าพัน แล้วถักด้ายสลับ เวลาตีจะให้เสียงนุ่มนวล เมื่อผสมเข้าวงเรียกว่า "ปีพาทย์ไม้นวม"
1. ลักษณะการบรรเลงระนาดผู้บรรเลงนั่งพับเพียบหรือขัดสมาธิ โดยให้ลำตัวอยู่กึ่งกลางของเท้าระนาด     การจับไม้ระนาด ให้นิ้วชี้อยู่ด้านบนของก้านไม้นิ้วโป้งอยู่ด้านข้าง นิ้วกลาง นิ้วนาง นิ้วก้อยกำอยู่ใต้ไม้
2. เมื่อบรรเลงเสร็จต้องปลดเชือกคล้องหูระนาดด้านซ้ายมือลงเพื่อป้องกันไม่ให้เชือกรับน้ำหนักของผืน
    ตลอดเวลา
3. ควรเก็บไม้ระนาดไว้ใต้ราง ไม่วางทิ้งบนพื้น หรือวางบนผืนระนาด เพราะอาจจะหักได้ ในกรณีนั่งทับ
4. การเคลื่อนย้ายระนาดควรใช้การยก แทนการลากหรือดึง เพราะจะทำให้ระนาดล้ม อาจเสียหาย ได้
5. ถ้าตะกั่วใต้ผืนระนาดหลุด ควรใช้ไม้ขีดไฟ หรือไฟแช็ค ลนเพื่อให้ตะกั่วอ่อนตัว แล้วติดไว้ตามเดิม     ห้ามใช้เทียนไขลนเพราะอาจทำให้น้ำตาเทียนหยดผสมกับตะกั่วทำให้ลื่นและติดไม่อยู่

ระนาดทุ้ม



                          ระนาดทุ้ม กำเนิดในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตน โกสินทร์ โดยประดิษฐ์ขึ้นให้เป็นเครื่องดนตรีที่มีระดับเสียงทุ้มต่ำ ทั้งนี้เพื่อคู่กับระนาดเอก ซึ่งเป็นเครื่อง ดนตรีที่มีเสียงสูง รางระนาดทุ้มมีรูปร่างคล้ายหีบไม้ยาว แต่เว้าตรงกลางให้โค้งมีโขนปิดหัวท้ายรางเพื่อเป็น
ี ที่แขวนผืนระนาด เช่นเดียวระนาดเอก แต่แตกต่างกันที่รูปทรง รางระนาดทุ้มทำด้วยไม้ เช่น ไม้สัก ไม้ประดู่ ไม้มะเกลือ ไม้มะริด เป็นต้น โดยที่ส่วนประกอบต่างๆ คล้ายคลึงกับระนาดเอก ส่วนที่มีลักษณะแตกต่าง ออกไป คือ ตัวรางนั้นมีลักษณะคล้ายรางข้าวหมู ปลายผายออก โค้งเล็กน้อย ด้านในเจาะรูเพื่อ ติดตะขอ ซึ่ง ทำด้วยโลหะ ด้านหัวเป็นตะของอ ด้านปลายตีเกลียวแหลม มีแผ่นเหล็กกลมกั้นยึดเพื่ออุ้มเสียงให้ดังก้องกัง
โขนระนาดทุ้มทั้งสองข้างติดยึดไว้กับไม้ฝาประกบ 2 อัน และมีไม้แผ่นอีกอันหนึ่งปิดใต้ท้องรางโดยตลอด เพื่ออุ้มเสียงให้ดังก้องกังวาน ที่ไม้ปิดท้องรางด้านล่างมีไม้ทำเป็นขารองรับตัวราง 4 เท้า ติดอยู่ที่มุมทั้ง 4 ด้าน ที่ไม้ฝาประกบด้านบนและล่างมีไม้ทำเป็นคิ้วขอบรางประกบติดโดยตลอด และบนคิ้วขอบรางตอนบน ใช้หวายต้นเล็กๆ พันด้วยผ้าตอกติดเพื่อรองรับผืน เรียกว่า หมอน และนอกจากจะทาน้ำมันลงแล็กเกอร์แล้ว ยังตีเส้นสีดำหรือสีขาวเดินตามขอบคิ้วตลอดถึงโขนทุ้มทั้งสองด้วย
                         ระนาดทุ้ม เป็นเครื่องดนตรีที่เกิดขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นเครื่องดนตรีที่มีเสียงทุ้มต่ำกว่าระนาดเอก โดยประดิษฐ์เลียนแบบระนาดเอก แต่ลูกระนาดมีขนาดใหญ่และยาวกว่า เพื่อให้เกิดความแตกต่างในเรื่องของความสูงต่ำของเสียง ลักษณะ ของรางระนาดทุ้มมีความยาวประมาณ 125 เซนติเมตร และจะแตกต่างจากระนาดเอก คือ รางระนาดทุ้ม ด้านบนจะเว้า ส่วนด้านล่างจะตรง แต่รางของระนาดเอกขอบของ รางระนาดเอกจะขนานกันทั้งด้านบน และด้านล่าง ระนาดทุ้มมีเท้ารอง 4 เท้า ผืนระนาดทุ้มทำด้วยไม้ไผ่ ต่อมาได้มีผู้นำไม้ จริงมาทำผืนระนาดทุ้ม แต่ไม่ค่อยได้รับความนิยมเหมือนทำด้วยไม้ไผ่ ลูกระนาดทุ้มมีจำนวน 17 – 18 ลูก ลูกที่ 17 ตรงกับเสียง
“ ซอล” และเรียกลูกที่ 17 นี้ว่า ลูกหลิบ หรือ ลูกหลีก ไม้ตีระนาดทุ้มมีอยู่ชนิดเดียว มีลักษณะคล้ายกับ ไม้ตีระนาดเอกชนิดไม้นวม แต่มีความอ่อนนุ่ม และใหญ่กว่าระนาดทุ้ม ใช้ผสมอยู่ในวงปี่พาทย์ไม้แข็ง
ปี่พาทย์ไม้นวม ปี่พาทย์มอญ ปี่พาทย์นางหงส์ วงมโหรี
1. ลักษณะการบรรเลงระนาดผู้บรรเลงนั่งพับเพียบหรือขัดสมาธิ  โดยให้ลำตัวอยู่กึ่งกลางของเท้าระนาดการ     จับไม้ระนาด ให้นิ้วชี้อยู่ด้านบนของก้านไม้ นิ้วโป้งอยู่ด้านข้างนิ้วกลาง นิ้วนาง นิ้วก้อยกำอยู่ใต้ไม้
2.เมื่อบรรเลงเสร็จต้องปลดเชือกคล้องหูระนาดด้านซ้ายมือลงเพื่อป้องกันไม่ให้เชือกรับน้ำหนักของ
   ผืนตลอดเวลา
3. ควรเก็บไม้ระนาดไว้ใต้ราง ไม่วางทิ้งบนพื้น หรือวางบนผืนระนาด เพราะอาจจะหักได้ ในกรณีนั่งทับ
4. การเคลื่อนย้ายระนาดควรใช้การยก แทนการลากหรือดึง เพราะจะทำให้ระนาดล้ม อาจเสียหาย ได้
5. ถ้าตะกั่วใต้ผืนระนาดหลุด ควรใช้ไม้ขีดไฟ หรือไฟแช็ค ลนเพื่อให้ตะกั่วอ่อนตัว แล้วติดไว้ตามเดิมห้าม     ใช้เทียนไขลนเพราะอาจทำให้น้ำตาเทียนหยดผสมกับตะกั่วทำให้ลื่นและติดไม่อยู่

ระนาดทุ้มเหล็ก


                        ระนาดทุ้มเหล็กระนาดทุ้มเหล็กเป็นเครื่องดนตรีที่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ในรัชกาลที่ 4 มีพระราชดำริให้สร้างขึ้น ลูกระนาดทำอย่างเดียวกับระนาดเอกเหล็ก ระนาดทุ้มเหล็กมีจำนวน 16 หรือ 17 ลูก ลูกต้นยาวประมาณ 35 ซม กว้างประมาณ 6 ซมและลดหลั่นลง ไปจนถึงลูกยอด ซึ่งยาว ประมาณ 29 ซม กว้างประมาณ 5.5 ซม ตัวรางระนาดยาวประมาณ 1 เมตร ปากราง กว้างประมาณ 20 ซม มีชานยื่นออกไปสองข้างราง ถ้านับส่วนกว้างรวมทั้งชานทั้งสองข้างด้วย รางระนาดทุ้มเหล็กจะกว้าง ประมาณ 36 ซม มีเท้ารองติดลูกล้อ 4 เท้า เพื่อให้เคลื่อนที่ไปมาได้สะดวก ตัวรางสูงจากพื้นถึงขอบบน ประมาณ 26 ซมระนาด ทุกชนิดที่กล่าวมานั้น จะใช้ไม้ตี 2 อัน
                      สำหรับระนาดเอกทำไม้ตีเป็น 2 ชนิด ชนิดหนึ่งทำหัวไม้ตีให้แข็ง เมื่อตีจะมีเสียงดังเกรียวกราว เมื่อนำเข้าผสมวงจะเรียกว่า “วงปี่พาทย์ไม้แข็ง” อีกชนิดหนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ประดิษฐ์ไม้ตีให้ อ่อนนุ่ม เมื่อตีจะเกิด เสียงนุ่มนวล เวลานำระนาดเอกที่ใช้ไม้ตีชนิดนี้มาผสมวง จะเรียกว่า “วงปี่พาทย์ไม้นวม”
                        ระนาดทุ้มเหล็ก เป็นเครื่องดนตรีที่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวสมเด็จพระอนุชา ธิราชในรัชกาลที่ 4 ได้ทรงพระราชดำริให้สร้างเพิ่มเติมขึ้นโดยถ่ายทอดมาจากหีบเพลงฝรั่ง อย่างเป็นเครื่อง
เขี่ยหวีเล็ก มีรูปร่างลักษณะอย่างเดียว กับระนาดเอกเหล็กแต่ทำให้มีขนาดใหญ่กว่าทั้งขนาดของรางและ
ลูกระนาด และมีเสียงทุ้มกว่าระนาดเอกเหล็ก ระนาดทุ้มเหล็กจะใช้ผสมอยู่ในวงปี่พาทย์ไม้แข็งเครื่อง
์ใหญ่วงปี่พาทย์ไม้นวมเครื่องใหญ่ วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ วงปี่พาทย์มอญเครื่องใหญ่ ระนาดทุ้มเหล็กจะ
ดำเนินทำนองห่างๆ จัดเป็นพวกทำหน้าที่คล้ายเบส
1. ลักษณะการบรรเลงระนาดผู้บรรเลงนั่งพับเพียบหรือขัดสมาธิ โดยให้ลำตัวอยู่กึ่งกลางของ เท้าระนาด การจับไม้ระนาด ให้นิ้วชี้อยู่ด้านบนของก้านไม้ นิ้วโป้งอยู่ด้านข้าง นิ้วกลาง นิ้วนาง นิ้วก้อยกำอยู่ใต้ไม้
2.เมื่อบรรเลงเสร็จต้องปลดเชือกคล้องหูระนาดด้านซ้ายมือลงเพื่อป้องกันไม่ให้เชือกรับน้ำหนักของผืน
   
ตลอดเวลา
3. ควรเก็บไม้ระนาดไว้ใต้ราง ไม่วางทิ้งบนพื้น หรือวางบนผืนระนาด เพราะอาจจะหักได้ ในกรณีนั่งทับ
4. การเคลื่อนย้ายระนาดควรใช้การยก แทนการลากหรือดึง เพราะจะทำให้ระนาดล้ม อาจเสียหาย ได้
5. ถ้าตะกั่วใต้ผืนระนาดหลุด ควรใช้ไม้ขีดไฟ หรือไฟแช็ค ลนเพื่อให้ตะกั่วอ่อนตัว แล้วติดไว้ตามเดิม     ห้ามใช้เทียนไขลนเพราะอาจทำให้น้ำตาเทียนหยดผสมกับตะกั่วทำให้ลื่นและติดไม่อยู่