ทำบุญ

วันศุกร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

เครื่องดนตรีสากล


 เครื่องดนตรีสากลแบ่งออกเป็น 5 ประเภท

1.เครื่องสาย 

    เครื่องดนตรีประเทเครื่องสาย จะเกิดเสียงได้โดยการทำให้สายสั่นสะเทือน เกิดเสียงได้โดยการดีดและการสีโดยการใช้คันชัก มีทั้งสายที่ทำจากเส้นลวด เส้นเอ็น หรือเส้นไหม นำมาขึงให้ตึง ความดังของเสียงอยู่กับขนาดรูปร่างของเครื่องดนตรีและวัสดุที่นำมาใช้ทำเป็นลำตัวเครื่องดนตรี

       ไวโอลิน (Violin) คือ เครื่องดนตรีที่กำเนินเสียงในระดับสูง เป็นเครื่องดนตรีในตระกูล ไวโอลิน (Violin Far) ทั้งหมด 4 ชนิด คือ ไวโอลิน วิโอลา เชลโล และคอนทร้าเบส เครื่องดนตรีในตระกูลไวโอลินคือเครื่องดนตรีหลักที่ใช้ในวงออร์เคสตร้า ปกติจะเล่นใช้คันชักสีที่สายให้สั่นสะเทือน คันชักของไวโอลินจะทำด้วยหางม้า แต่บางครั้งก็จะใช้นิ้วดีดที่สาย เพื่อให้เกิดเสียงตามต้องการ 
    วิโอลา (Viola)  เป็นเครื่องดนตรีในตระกูลไวโอลินเช่นกัน ขนาดใหญ่กว่าไวโอลินเล็กน้อย ตำแหน่งของวิโอลาจะอยู่ลักษณะเดียวกับไวโอลิน ต้องวางไว้บนไหล่ซ้ายของผู้เล่น แล้วใช้คางหนีบเครื่องดนตรีไว้ไม่ให้เคลื่อนที่ คันชักจับด้วยมือขวา คุณภาพเสียงของวิโอลาจะไม่สดใสเหมือนเสียงของไวโอลิน มีลักษณะเหมือนเสียงนาสิก
    เชลโล (Cello) เป็นเครื่องดนตรีในตระกูลไวโอลิน แต่มีขนาดใหญ่และใหญ่กว่าไวโอลินเป็น 2 เท่า ระดับเสียงต่ำกว่าไวโอลิน คุณภาพเสียงทุ้มลึกกว่าเสียงของไวโอลิน เชลโลสามารถเล่นด้วยวิธีสี และวิธีดีด เช่นเดียวกับไวโอลิน ในขณะที่เล่นต้องนั่งใช้เข่าหนีบให้เชลโลอยู่ระหว่างขาทั้งสองข้าง
    คอนทร้าเบส (Contra Bass)  เป็นเครื่องดนตรีในตระกูลไวโอลินที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น สตริงเบส ดับเบิ้ลเบส เบสวิโอล เวลาเล่นต้องตรึงเครื่องไว้บนพื้นโดยมีหมุดยึดไว้เพราะว่า คอนทร้าเบนมีขนาดใหญ่มาก คุณภาพเสียงของคอนทร้าเบสจะหนักแน่นและให้ความรู้สึกอุ้ยอ้าย เยิ่นเย้อเหมือนกับการเคลื่อนที่ของใหญ่โต ที่มีน้ำหนักมาก
    ฮาร์ป (Harp)  คือ เครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายซึ่งแตกต่างจากเครื่องสายประเภทอื่น ๆ คือ การขึงของสายจะไม่ผ่านกล่องเสียง (Sounding Board) เหมือนเครื่องดนตรีชนิดอื่น ๆ เช่น กีตาร์ ไวโอลิน หรือเปียโน โครงสำหรับขึงสายมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมโค้งงอเล็กน้อย เพื่อให้เกิดความสวยงาม ปกติจะเล่นด้วยการดีดที่สาย คุณภาพเสียงของฮาร์ปมีความแจ่มใส กว่าเสียงของเปียโน ใช้แสดงความสดชื่นแจ่มใส
    กีตาร์ (Guitar)  คือเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย เล่นโดยวิธีการดีด เกี่ยว ดึง หรือ กรีดสายบนสายกีตาร์ อาจใช้นิ้วหรือเพล็คทรัมก็ได้ กล่องเสียงของกีตาร์จะคล้ายไวโอลินขนาดใหญ่ คอยาว มีเฟร็ทโลหะ คั่นอยู่ 5 สาย และมีหมุดยึดสายที่ปลายคอกีตาร์ สายของกีตาร์มีทั้งทำด้วยโลหะและไนล่อน

2.เครื่องลมไม้

          คลาริเนต  (Clarinet)  เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องลมไม้ใช้ลิ้นเดี่ยว คลาริเนตมีใช้อยู่หลายชนิด เช่น อีแฟล็ตคลาริเนต บีแฟล็ตคลาริเนต และเบสคลาริเนต ลำตัวคลาริเนตมีทั้งทำด้วยโลหะ ไม้ พลาสติก ลำตัวของปี่จะกลวงเหมือนขลุ่ย เปลี่ยนระดับเสียงโดยใช้นิ้วและคีย์โลหะบุด้วยนวมปิดเปิดรู ปี่คลาริเนตจะมีรูปร่างคล้ายกับโอโบ แตกต่างกันที่ปากเป่า คุณภาพเสียงของปี่คลาริเนต จะมีช่วงเสียงกว้างและทุ้มลึก มีนิ้วพิเศษที่ทำเสียงได้สูงมากเป็นพิเศษ


    แซ็กโซโฟน (Saxophone)
    ตระกูลแซกโซโฟนเป็นตระกูลใหญ่เช่นเดียวกับคลาริเนท แซกโซโฟนมีขนาดต่าง ๆ ถึง 7 ขนาดด้วยกัน แต่นิยมใช้ในปัจจุบันมี 4 ชนิดด้วยกัน หลากหลายชนิดของแซกโซโฟน ได้กล่าวเกี่ยวกับชนิดของแซกโซโฟนไว้ว่าแซกโซโฟนในปัจจุบันประกอบด้วยแซกโซ โฟนโซปราโน, แซกโซโฟนอัลโต้, แซกโซโฟนเทเนอร์และบาริโทนแซกโซโฟนในบรรดา 4 ชนิดที่กล่าวมานี้ แซกโซโฟนโซปราโนเป็นแซกโซโฟนที่มีเสียงความถี่เสียงสูงที่สุด ตามด้วยแซกโซโฟนโต้ แซกโซโฟนเทเนอร์และสุดท้ายที่ต่ำคือบาริโทนแซกโซโฟน
     1. 
โซปราโนแซกโซโฟน (Soprano Saxophone) เป็นแซกโซโฟนที่มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบาและมีความถี่สูงที่สุด เนื่องจากมีขนาดเล็กและน้ำหนักเบาจึงสามารถถือไว้ในมือได้ง่ายโดยไม่จำเป็น ต้องใช้สายสะพายแซกโซโฟนก็ดี อย่างไรก็ตามแซกโซโฟนโซปราโนไม่เหมาะสมสำหรับผู้ที่ต้องการหัดเล่นแซกโซโฟน เนื่องจากมีความยากในการเป่ามากกว่าแซกโซโฟนอัลโต้และเทเนอร์ ในปัจจุบันแซกโซโฟนโซปราโนจะมีรูปทรงให้เลือก 2 แบบ คือแบบตรง และแบบโค้งก็จะมีลักษณะเหมือกับแซกโซโฟนอัลโต้แต่มีขนาดเล็กกว่า
     2. 
อัลโต้แซกโซโฟน (Alto Saxophone) เป็นแซกโซโฟนที่ดีที่สุดสำหรับผู้เริ่มต้น เนื่องจากเป็นแซกโซโฟนที่เป่าง่ายกว่าโซปราแซกโซโฟนและมีน้ำหนักเบากว่าแซก โซโฟนเทเนอร์แซกโซโฟนอัลโต้สามารถเป่าได้ในดนตรีหลาย ๆ สไตล์ไม่ว่าจะเป็นสไตล์คลาสสิก, ป็อป, แจ็ส แต่นักดนตรีคลาสสิกจะนิยมใช้แซกอัลโต้ในการเล่นมากกว่าการใช้แซกโซโฟนชนิด อื่น ๆ รวมถึงการเล่นดนตรีแบบแตรวง, คอนเสิร์ตหรือมาร์ชชิ่งแบรนด์ก็เช่นกัน แซกโซโฟนอัลโต้จึงเป็นแซกโซโฟนที่ได้รับความนิยมมากที่สุด
     3. 
เทเนอร์แซกโซโฟน (Tenor Saxophone) เป็นแซกโซโฟนที่ถูกใช้มากในการเล่นดนตรีแนวแจ็ส แต่ก็สามารถเห็นแซกโซโฟนเทเนอร์ได้ในการเล่นดนตรีแบบอื่น ๆ เช่นกันเสียงของแซกเทเนอร์จะมีลักษณะแบบนุ่ม ๆ อ้วน ๆ และต่ำกว่าแซกโซโฟนอัลโต้และแซกโซโฟนโซปราโน รองจากแซกโซโฟนอัลโต้แล้วแซกโซโฟนเทเนอร์ก็น่าจะเป็นตัวเลือกที่มือใหม่ควร จะใช้ในการเริ่มต้น
     4. 
บาริโทนแซกโซโฟน (Baritone Saxophone) เป็นแซกโซโฟนที่มีขนาดใหญ่และมีความถี่เสียงต่ำสุด และราคาแพงที่สุดในบรรดาแซกโซโฟน ดังนั้นบาริโทนแซกโซโฟนจึงไม่เหมาะแก่นักแซกโซโฟนมือใหม่ทั้งหลาย ความยาวของบาริโทนแซกโซโฟนจะอยู่ประมาณ 7 ฟุต


3.เครื่องลมทองเหลือง




         เครื่องดนตรีประเภทเครื่องลมทองเหลือง ทำด้วยโลหะผสมทองเหลือง เสียงของเครื่องดนตรีประเภทนี้เกิดจากการเป่าลมผ่านท่อโลหะ ความยาวของท่อโลหะต่างกันทำให้ระดับเสียงเปลี่ยนไป การเปลี่ยนความยาวของท่อโลหะจะใช้ลูกสูบเป็นตัวบังคับ เช่น ทรัมเป็ท คอร์เน็ท เครื่องดนตรีบางชนิดจะใช้การชักท่อลมเข้าออก เพื่อเปลี่ยนความยาวของท่อลม เช่น ทรอมโบน ลักษณะเด่นของเครื่องดนตรีประเภทนี้ คือ มีปากลำโพงสำหรับขยายเสียงให้มีความดังเจิดจ้า เรามักเรียกเครื่องดนตรีประเภทนี้รวม ๆ กันว่าแตร ปากเป่า เครื่องดนตรีประเภทนี้ทำด้วยโลหะเป็นรูปกรวยเรียกว่า กำพวด (Mouthpiece) ต่อเข้ากับท่อลมของเครื่องดนตรีนั้น ๆ

              ทรัมเป็ท (Trumpet) เป็นเครื่องดนตรีที่จัดอยู่ในประเภทเครื่องลมทองเหลืองกำพวดสำหรับเป่าเป็นท่อโลหะ ปลายบานคล้ายรูปถ้วย ท่อลม ทรัมเป็ทกลวงยาวเท่ากันปลายจะบานออกเป็นลำโพง ทรัมเป็ทมีลูกสูบ 3 สูบ สำหรับใช้เปลี่ยนความยาวของท่อลม บางครั้งกดเพียง 1 นิ้ว บางครั้งกดเพียง 2 นิ้ว หรือ นิ้วพร้อมกัน เสียงของทรัทเป็ทจะเป้นเสียงที่มีพลังและดังเจิดจ้า



4.เครื่องลิ่มนิ้ว

            เครื่องดนตรีในกลุ่มนี้ มักนิยมเรียกทับศัพท์ในภาษาอังกฤษว่า เครื่องดนตรีประเภทคีย์บอร์ด ลักษณะเด่นของเครื่องดนตรีที่อยู่ในกลุ่มนี้ คือ มีลิ่มนิ้วสำหรับกด เพื่อเปลี่ยนระดับเสียงดนตรี ลิ่มนิ้วสำหรับกดนั้นนิยมเรียกว่า คีย์” (Key) เครื่องดนตรีแต่ละชนิดมีจำนวนคีย์ไม่เท่ากัน โดยปกติสีของคีย์เป็นขาวหรือดำ คีย์สีดำโผล่ขึ้นมามากกว่าคีย์สีขาว

           เปียโน (piano)  เป็นเครื่องดนตรีประเภทลิ่มนิ้วนิยมกันอย่างกว้างขวางกว่าเครื่องดนตรี ชนิดอื่นทั้งหมด เป็นเครื่องดนตรีประจำบ้าน ประจำวงคอนเสิร์ตนอกจากเป็นเครื่องดนตรีที่จั้ดว่าเป็นเอกทางเดี่ยวแล้ว ยังใช้สำหรับคลอเสียงดนตรีชนิดอื่น และใช้คลอเสียงร้องได้ดีอีกด้วย เปียโนมี 7 ออกเทพส์ครึ่ง (Octaves) สามารถเปลี่ยนระดับเสียงได้ทุกบันไดเสียง มีลิ่มทั้งหมด 88 ลิ่มนิ้ว สามารถเล่นได้ทั้งทำนอง (Malody) และเสียงประสน (Harmony) ในขณะเดียวกันเสียงของเปียโนถือเป็นเสียงมาตรฐาน ดังนั้นในการแต่งเพลงจึงจำเป็นต้องใช้เปียโนเป็นหลักในการเขียนโน้ตในบันไดเสียงต่าง ๆ

          ฮาร์ปซีคอร์ด (Harpsicord) เป็นเครื่องดนตรีประเภทลิ่มนิ้ว ที่เกิดก่อนเปียโน ทำให้เสียงดังหรือเบาตามลำดับเหมือนอย่างเปียโนไม่ได้ ในขณะที่เรากดคีย์ลงไป สายภายในเครื่องดนตรีจะถูกเกี่ยวด้วยไม้ดีด (Quills) ซึ่งตรงข้ามกับเปียโนที่ใช้ค้อนเคาะลงเบาบนสาย 

          แอ็คคอร์เดียน (Accordion) คือเครื่องดนตรีประเภทมีลิ่มนิ้วเรียงกันเป็นแผง การเล่นใช้นิ้วมือกดลงบนลิ่มนิ้วของเครื่องดนตรี การเกิดเสียงนั้น ขึ้นอยู่กับกรรมวิธีภายในซึ่งมีลักษณะเป้นท่อลมที่มีที่ปิดเปิดทำให้เกิดระดับเสียงต่าง ๆ




5.เครื่องตี

           เครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีได้แก่ เครื่องดนตรีที่เกิดเสียงจากการตีกระทบ การสั่น การเขย่า การเคาะ การตีอาจจะใช้ไม้ตีหรืออาจจะใช้สิ่งหนึ่งกระทบเข้ากับอีกสิ่งหนึ่งเพื่อให้เกิดเสียง เครื่องตีกระทบประกอบขึ้นด้วยวัสดุของแข็งหลายชนิด เช่น โลหะ ไม้ หรือแผ่นหนังขึงตึง
         กลองใหญ่ (Bass Drum) กลองใหญ่ คือ เครื่องตีมี 2 หน้า ขึงด้วยหนังกลอง เสียงกลองตีเน้นย้ำจังหวะเพื่อให้เกิดความหนักแน่น หรืออาจจะใช้การตีแบบรัวเพื่อให้เกิดความตื่นเต้น สร้างจุดสนใจในบทเพลงเพิ่มขึ้น
        กลองเล็ก (Snare Drum)  กลองเล็ก คือ เครื่องตี มี 2 หน้า ขึงด้วยหนังกลอง ลักษณะเฉพาะคือหน้ากลองด้านล่างจะต้องคาดไว้ด้วยสายสะแนร์เป็นแผงเพื่อให้เกิดเสียงซ่า เดิมสายสะแนร์ทำดวยเอ็นสัตว์ ในปัจจุบันสายสะแนร์มีทั้งที่ทำด้วยไนล่อนและทำด้วยเส้นลวดโลหะ กลองเล็กมีหลายชื่อ เช่น Snare Drum และ Side Drum
       ทิมปานี (Timpani)  เป็นกลองที่มีลักษณะเหมือนกระทะ หรือกาต้มน้ำ จึงมีช่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Kettle Drum ตัวกลองทำด้วยโลหะทองแดง ตั้งอยู่บนขาหยั่ง กลองทิมปานี มีระดับเสียงแน่นอน เทียบเท่ากับเสียงเบส มีเท้าเหยียบเพื่อเปลี่ยนระดับเสียงตามต้องการในการบรรเลงต้องใช้อย่างน้อย 2 ใบ















เครื่องดนตรีไทย


                                                                   เครื่องดนตรีไทย
             เครื่องดนตรีไทยเป็นมรดก ทางวัฒนธรรมที่บรรพบุรุษไทยได้สร้างสมไว้อย่างสืบเนื่องต่อกันมาช้านานเครื่องดนตรีแต่ละประเภทมีประวัติ ที่มา ลักษณะ รูปแบบการบรรเลง การประสมวง และการเรียกชื่อที่แตกต่างกันสามารถจำแนกได้ 4 ประเภท ดังนี้

1.เครื่่องดีด
                                                                            กระจับปี่

          กระจับปี่ คือ พิณชนิดหนึ่งมี 4 สาย กะโหลกเป็นรูปรีแบน ทั้งด้านหน้า และด้านหลังทวนยาวเรียวโค้งมีนมรับนิ้วสำหรับกดสาย 11 นม ไม้ดีดทำด้วยเขาหรือกระดูกสัตว์ กระจับปี่เป็นเครื่องดนตรีโบราณ

  



                 ซึง
           ซึงมี 4 สายเหมือนกระจับปี่ มีรูปร่างคล้าย พิณวงเดือนของจีน (จีนเรียก เยอะฉิน) ของไทยทางภาคเหนือ เรียก ซึง ส่วนภาคอีสาน เรียกพิณอีสานเป็นเครื่องดนตรีพื้นเมืองภาคเหนือใช้ประสมวงกับปี่ซอ
  
                จะเข้
        เป็นเครื่องดีดที่มีเสียงกังวาน ไพเราะ สันนิษฐานว่า ปรับปรุงมาจากพิณ เพื่อให้นั่งดีดได้สะดวก ตัวจะเข้ทำด้วยไม้ขนุนท่อนเดียวมีเท้ารองตอนหัว 4 อัน ตอนปลายหาง อีก 1 อัน มี 3 สาย ไม้ดีดกลม ปลายแหลม ใช้ดีดไปบนสายที่พาดบนนม นม มี 11 อัน ประสมอยู่ในวง เครื่องสาย วงมโหรี
2.เครื่องสี
    ซอสามสาย
เป็นเครื่องดนตรีเก่าแก่ของไทย ในสมัยสุโขทัยเรียก ซอพุงตอ กะโหลกซอทำด้วยกะลามะพร้าวชนิดพิเศษ คือมีกะลานูนเป็นกระพุ้งออกมา 3 ปุ่ม ขึงหนังแพะหรือหนังลูกวัวปิดปากกะลาส่วนประกอบที่สำคัญนอกจาก หย่องซึ่งเป็นไม้สำหรับหนุนสายตรงหนังซอให้สายตุงออกมายังมีถ่วงหน้าตรงด้านซ้ายตอนบนซึ่งช่วยให้ซอมีความไพเราะ กังวาน ทั้งยังเป็นที่ประดับประดา อัญมณีเพื่อให้เกิดความสวยงาม ใช้บรรเลงประสมอยู่ ในวงขับไม้ วงมโหรี และวงดนตรีประกอบชุดโบราณคดี

   ซอด้วง
มี 2 สาย กะโหลกซอเดิมทำด้วยกระบอกไม้ไผ่ ในปัจจุบันนิยมใช้ไม้เนื้อแข็งเจาะกลึง ขึ้นหน้ากะโหลก ซอด้วยหนังงูเหลือม คันทวนตอนบนปาดปลาย ลักษณะคล้ายโขนเรือ มีลูกบิด 2 อันสอดคันชักระหว่าง สายซอ ทั้ง 2 เส้น เนื่องจากรูปร่างลักษณะของซอคล้ายด้วงดักสัตว์จึงเรียกว่า ซอด้วง ใช้ประสม ในวงเครื่องสาย และมโหรี ทำหน้าที่เป็นเครื่องนำวงในวงเครื่องสาย


   ซออู้
มี 2 สาย กะโหลกทำจากกะลามะพร้าวปาดข้าง และแกะสลักลวดลาย เพื่อเปิดให้มีช่องเสียง หุ้มหนัง ซอด้วย หนังแพะ หรือหนังลูกวัว คันทวนตั้งตรง ลักษณะเด่นของซออู้ คือ เสียงที่ทุ้มต่ำกังวาน ดำเนินการ บรรเลงให้มีท่วงทำนองอ่อนหวาน เศร้าโศกได้ดี ประสมอยู่ในวงเครื่องสาย วงมโหรี วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ วงปี่พาทย์ไม้นวม และวงดนตรีประกอบระบำชุดโบราณคดี

  สะล้อ
เป็นเครื่องดนตรีพื้นเมืองของภาคเหนือ มี 2-3 สาย ลักษณะคล้ายซออู้กับซอสามสายผสมกัน มีคันชัก อยู่ด้านนอก ใช้บรรเลงเดี่ยวบ้าง บรรเลงประสมกับซึงบ้าง หรือกับปี่ซอบ้าง เป็นต้น




3.เครื่องตี
                                                         ระนาดเอก

เป็นเครื่องดนตรีที่มีวิวัฒนาการมาจากกรับ โดยการนำกรับหลายอันที่มีขนาดแตกต่างกันมาร้อยเรียง และ แขวนบนรางระนาด ผืนระนาดทำจากไม้ไผ่บง ไม้ชิงชัน ไม้มะหาด ไม้พยุง เป็นต้น มีลูกระนาด 21-22 ลูก
เทียบเสียงด้วยการติดตะกั่วผสมขี้ผึ้ง มีไม้ตี 2 ชนิด ไม้แข็ง และไม้นวม โดยปกติจะตีพร้อมกัน ทั้ง 2 มือ เป็นคู่แปด ดำเนินทำนองเก็บถี่ โดยแปรจากทำนองหลัก(ฆ้อง) 



   ระนาดทุ้ม

เป็นเครื่องดนตรีที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 โดยประดิษฐ์เลียนแบบระนาดเอก แต่ใหญ่ กว้าง และเสียงทุ้มกว่า มีลูกระนาด 17-18 ลูก ทำหน้าที่ แปรทำนองหลักจากฆ้อง เป็นทาง และลีลาตลกคะนอง มีการขัด ล้อ ล้วงล้ำ เหลื่อม เป็นต้น ตีสอดแทรก 

ยั่วเย้า หยอกล้อ ไปกับเครื่องดำเนินทำนองให้สนุกสนาน



ฆ้องวงเล็ก

ประดิษฐ์ขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 เพื่อให้เข้ากับฆ้องวงใหญ่ มีขนาดเล็กกว่า แต่มีจำนวนลูกฆ้อง มากกว่า โดยมี 18 ลูก ทำหน้าที่ ดำเนินทำนองโดยแปรลูกฆ้อง ออกเป็นทำนองเต็ม ทำหน้าที่สอดแทรกทำนองในทางเสียงสูง


กลองทัด

เป็นกลองที่ชาวไทยทำขึ้นใช้แต่เดิมมีขนาดใหญ่ที่สุดในวงปี่พาทย์กลองชนิดนี้เป็น กลองสองหน้าขึงด้วยหนัง ตัวกลองทำด้วยไม้เนื้อแข็ง ข้างกลองมีห่วงสำหรับแขวนหรือตั้งขาหยั่ง 1 ห่วง เวลาตีใช้ตีเพียงหน้าเดียว ไม้สำหรับใช้ตีเป็นไม้รวก 2 ท่อน

4.เครื่องเป่า
   ปี่ เป็นเครื่องดนตรีที่มีมาแต่โบราณ มีลักษณะ และวิธีการเป่าที่เป็นเอกลักษณ์ทั้งยังเลียนเสียงคำพูดของคนได้ชัดเจน และใกล้เคียงที่สุด ปี่ที่กล่าวมานี้ มี 3 ชนิด คือ ปี่ใน ปี่กลาง และปี่นอก มีรูปร่างเหมือนกัน ต่างกันที่ขนาด

ปี่ในมีขนาดใหญ่ ใช้ บรรเลง ในวงปี่พาทย์ไม้แข็ง และประกอบการแสดงโขน ละคร

ปี่กลาง มีขนาดกลาง ใช้ บรรเลง ในวงปี่พาทย์ไม้แข็ง และประกอบการแสดงโขน หนังใหญ่ ซึ่งแสดง กลางแจ้ง

ปี่นอก มีขนาดเล็ก่ใช้ บรรเลง ใน วงปี่พาทย์ไม้แข็ง (ปัจจุบันไม่นิยมนำมาประสมวง) และวงปี่พาทย์ชาตรี ประกอบละครชาตรี โนรา หนังตะลุง






เครื่องดนตรีพื้นบ้าน





สามารถจำแนกได้ 4 ภาค ดังนี้

1.เครื่องดนตรีพื้นบ้านภาคเหนือ


        สะล้อหรือ ทะล้อ เป็นเครื่องสายบรรเลงด้วยการสี ใช้คัน ชักอิสระ ตัวสะล้อที่เป็นแหล่งกำเนิด เสียง  ทำด้วยกะลามะพร้าว ตัดและปิดหน้าด้วยไม้บาง ๆ มีช่องเสียงอยู่ด้านหลัง คันสะล้อทำด้วย ไม้สัก หรือไม้เนื้อแข็งอื่น ๆ โดยปกติจะ ยาวประมาณ ๖๐ เซนติเมตร ลูกบิดอยู่ด้านหน้านิยม ทำเป็นสองสาย แต่ที่ทำเป็นสามสายก็ มีสาย ทำด้วยลวด (เดิมใช้สายไหมฟั่น ) สะล้อมี ๓ ขนาด คือ สะล้อเล็กสะล้อกลาง    และสะล้อใหญ่ ๓ สาย



       

      ซึง เป็นเครื่องสายชนิดหนึ่งใช้บรรเลงด้วยการดีด ทำ ด้วยไม้สักหรือไม้เนื้อแข็ง มีช่องเสียงอยู่      ด้านหน้า กำหนดระดับเสียงด้วยนมเป็นระยะ ๆ ดีด ด้วยเขาสัตว์บาง ๆ มีสายทำด้วยโลหะ เช่น ลวด      หรือทองเหลือง (เดิมใช้สายไหมฟั่น) ๒ สาย 



     ปี่ เป็นปี่ลิ้นเดียว ที่ตัวลิ้นทำด้วย โลหะเหมือนลิ้นแคน ตัวปี่ทำด้วยไม้ซาง ที่ปลายข้างหนึ่ง           ฝังลิ้นโลหะไว้เวลาเป่าใช้ปากอม ลิ้นที่ปลายข้างนี้ อีกด้านหนึ่งเจาะรู บังคับเสียงเรียงกัน ๖ รูใช้ปิดเปิด      ด้วยนิ้ว มือทั้ง ๒ นิ้ว เพื่อให้เกิดทำนองเพลง มี ๓ ขนาด ได้แก่ ขนาดใหญ่เรียก ปี่แม่ ขนาดรองลงมา       เรียก ปี่กลาง และขนาดเล็กเรียก ปี่ก้อย นิยม บรรเลงประสมเป็นวงเรียก วงจุมปี่  หรือปี่จุม  หรือบรรเลง     ร่วมกับซึงและสะล้อ




2.เครื่องดนตรีพื้นบ้านภาคอีสาน


       พิณ พื้นเมืองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีชื่อเรียกแตกต่างกัน เช่น ซุง หมากจับปี่ หมากต้องโต่ง และหมากตับแต่ง มีสายตั้งแต่ 2 - 4 สาย ชนิดที่มี 4 สาย ก็คล้ายกับซึงของภาคเหนือ แต่ปลายกะโหลกพิณป้านกว่า พิณพื้นเมืองภาคนี้ ทำด้วยไม้เนื้อแข็งประดิษฐ์ขึ้นอย่างง่าย ๆ ไม่สู้จะประณีตนัก ใช่เล่นเดี่ยว หรือเล่นร่วมกับวงแคน และโปงลาง





      โปงลาง เป็นเครื่องตี ทำด้วยไม้ร้อยต่อกันจำนวน 12 ท่อนด้วยเชือกเป็นผืน แต่ละท่อนมีขนาด และความยาวลดหลั่นกันตามลำดับ จากใหญ่ลงมาเล็ก เวลาเล่นใช้ด้านใหญ่ (ด้านบน) แขวนกับกิ่งไม้ หรือไม้ขาตั้ง ด้านเล็ก (ด้านล่าง) ใช้เท้าผู้เล่น หรือทำที่เกี่ยวยึดไว้ มักใช้ผู้เล่น 2 คน คนหนึ่งเล่นทำนองเพลงเรียก "หมอเคาะ" อีกคนหนึ่งทำหน้าที่เคาะประสานเสียงทำจังหวะเรียก "หมอเสิร์ฟ" โปงมีเสียง 5 เสียง คือ โด เร มี ซอล ลา ไม่มีเสียง ฟาและที



       แคน ทำด้วยไม้ซางขนาดต่าง ๆ นำมาเรียงลำดับผูกติดกันเป็น 2 แถว ๆ ละ 6 ลำบ้าง 7 ลำบ้าง หรือ 8 ลำบ้าง สุดแท้แต่ว่าจะเป็นแคนหก แคนเจ็ด หรือแคนแปด โดยเรียงลำใหญ่ไว้คู่หน้า และลำเล็ก ๆ เป็นคู่ถัดไปตามลำดับ และต้องเรียงให้กลางลำตรงที่ใส่ลิ้นอยู่ในระดับเดียวกัน แล้วเอาไม้จริงมาถากเจาะรูสำหรับเป่า (เรียกส่วนนี้ว่า "เต้า") เอาลำไม้ซางที่เรียงไว้สอดลงในเต้าให้พอดีกับตรงที่ใส่ลิ้นไว้ แล้วเอาชัน หรือขี้ผึ้งพอกกันลมรั่ว เหนือเต้าขึ้นไปประมาณ 4 - 5 ซม. เจาะรูด้านข้างของลำไม้ซางตั้งแต่คู่ที่ 2 เป็นต้นไป ลำละ 1 รู สำหรับนิ้วปิดเปิดเปลี่ยนเสียง ส่วนคู่แรก เจาะรูด้านหน้าเหนือเต้าขึ้นไปประมาณ 2 - 3 ซม. สำหรับนิ้วหัวแม่มือปิดเปิด การเป่าแคนต้องใช้ทั้งเป่าลมเข้า และดูดลมออก โดยเป่าตรงหัวเต้าด้านที่เจาะรูไว้ อาจกล่าวได้ว่า แคนเป็นเครื่องดนตรีสัญลักษณ์ของภาคอีสาน ประชาชนแถบนี้นิยมเป่าเล่นสืบต่อกันมาช้านาน ทั้งเล่นเดี่ยวคลอการร้อง และเล่นเป็นวงโดยผสมกับเครื่องดนตรีอื่น เช่น พิณ โปงลาง กลอง ฯลฯ ประกอบการแสดงพื้นบ้านภาคอีสานต่าง ๆ


         โหวด เป็นเครื่องเป่าไม่มีลิ้น ตัวโหวดทำด้วยไม้ไผ่รวก (หรือไม้เฮี้ย) ลำเล็ก ๆ สั้นยาวต่างกัน จำนวน 6 - 9 ลำ มัดติดกับกระบอกไม้ไผ่ที่เป็นแกนกลาง โดยใช้ขี้สุดติด แต่ละลำจะมีระดับเสียงแตกต่างกันตามขนาดสั้น ยาว ตามปกติโหวดมีเสียง 5 เสียง แต่เดิมใช้เชือกผูกปลายด้านหนึ่ง แล้วเหวี่ยงหมุนกลับไปกลับมา ทำให้เกิดเสียงโหยหวล ต่อมาใช้ปากเป่าเล่นเพลงพื้นบ้าน เป็นที่นิยมกันทั่วไปในแถบอิสาน



3.เครื่องดนตรีพื้นบ้านภาคกลาง
    ซอสามสาย
    ซอสามสาย เป็นซอ ที่มีรูปร่างงดงามที่สุด ซึ่งมีใช้ใน วงดนตรีไทยมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย (พ.ศ. ๑๓๕๐) แล้ว ซอสามสายขึ้นเสียง ระหว่างสายเป็นคู่สี่ใช้บรรเลงในพระราชพิธี อันเนื่องด้วยองค์พระมหากษัตริย์ ภายหลังจึง บรรเลงประสมเป็นวงมโหรี 
    ซอด้วง  
    ซอด้วง เป็นเครื่องสายชนิดหนึ่ง บรรเลงโดยการใช้คันชักสี กล่องเสียง ทำ ด้วยไม้เนื้อแข็ง ขึงหน้าด้วยหนังงู มีช่อง เสียงอยู่ด้านตรงข้าม คันทวนทำด้วยไม้เนื้อ แข็ง ยาวประมาณ ๖๐ เซนติเมตร มีลูกบิดขึ้นสาย อยู่ตอนบน ซอด้วงใช้สายไหมฟั่นหรือสาย เอ็น มี ๒ สาย ขนาดต่างกัน คันชักอยู่ระหว่าง สาย ยาวประมาณ ๕๐ เซนติเมตร ซอด้วงมีเสียงแหลม ใช้ เป็นเครื่องดนตรีหลักในวงเครื่องสาย 
    ขลุ่ย  
    ขลุ่ย ของไทยเป็นขลุ่ย ในตระกูลรีคอร์ดเดอร์ คือ มีที่บังคับแบ่งกระแส ลม ทำให้เกิดเสียงในตัวไม่ใช่ขลุ่ยผิว ตระกูลฟลุตแบบจีน ขลุ่ยไทยมีหลายขนาด ได้แก่ ขลุ่ยอู้ มีเสียงต่ำที่สุด ระดับกลาง คือ ขลุ่ย เพียงออ เสียงสูง ได้แก่ ขลุ่ยหลีบ และยังที่มี เสียงสูงกว่านี้คือ ขลุ่ยกรวดหรือขลุ่ยหลีบกรวด อีกด้วย ขลุ่ยเป็นเครื่องดนตรีในวงเครื่องสายและ วงมโหรี 
    จะเข้  
    จะเข้ เป็นเครื่องสาย ที่ใช้บรรเลงด้วยการดีด โดยปกติมีขนาดความ สูงประมาณ ๒๐ เซนติเมตร และยาว ๑๔๐ เซนติเมตร ตัว จะเข้ทำด้วยไม้เนื้ออ่อน ขุดเป็นโพรง มีสาย ๓ สาย สายที่ ๑-๒ ทำด้วยไหมฟั่น สาย ที่ ๓ ทำด้วยทองเหลือง วิธีการบรรเลงมือซ้าย จะทำหน้าที่กดสายให้เกิดเสียงสูง- ต่ำ ส่วนมือขวาจะดีดที่สายด้วยวัตถุที่ ทำจากงาสัตว์ 

4.เครื่องดนตรีพื้นบ้านภาคใต้

     
            ทับ เป็นเครื่องดนตรีที่มีความสำคัญ ในการให้จังหวะควบคุมการเปลี่ยนแปลงจังหวะและ เสริมท่ารำของการแสดงโนราให้ดีเยี่ยม ตัว ทับมีลักษณะคล้ายกลองยาว แต่มีขนาดเล็กกว่า มาก ยาวประมาณ ๔๐-๕๐ เซนติเมตร ทำด้วยไม้แก่น ขนุน หุ้มด้วยหนัง เช่น หนังค่าง หนังแมว ตรึงหนัง ด้วยเชือกด้ายและหวาย ทับใบหนึ่งจะมีเสียงทุ้ม เรียกว่า "ลูกเทิง" ส่วนอีกใบ หนึ่งจะ มีเสียงแหลมเรียกว่า "ลูกฉับ"


             กลองโนรา ใช้ประกอบการแสดงโนราหรือหนัง ตะลุง โดยทั่วไปมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของหน้า กลองทั้ง ๒ ด้าน ประมาณ ๑๐ นิ้ว และมี ส่วนสูงประมาณ ๑๒ นิ้ว กลองโนรานิยมทำด้วยแก่น ไม้ขนุน เพราะเชื่อว่าทำให้เสียงดี หนังที่ หุ้มกลองใช้หนังวัวหรือควายหนุ่ม ถ้าจะให้ ดีต้องใช้หนังของลูกวัวหรือลูกควาย มี หมุดไม้หรือภาษาใต้เรียกว่า "ลูกสัก" ตอกยึดหนังหุ้มให้ตึง มีขาทั้งสอง ขาทำด้วยไม้ไผ่มีเชือกตรึงให้ติดกับ กลอง และมี ไม้ตีขนาดพอเหมาะ ๑ คู่ ถ้า เป็นกลองที่ใช้ประกอบการแสดงหนังตะลุง จะมี ขนาดเล็กกว่า ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๖ นิ้ว และมีส่วนสูงประมาณ ๘ นิ้ว