ทำบุญ

วันศุกร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

เครื่องดนตรีไทย


                                                                   เครื่องดนตรีไทย
             เครื่องดนตรีไทยเป็นมรดก ทางวัฒนธรรมที่บรรพบุรุษไทยได้สร้างสมไว้อย่างสืบเนื่องต่อกันมาช้านานเครื่องดนตรีแต่ละประเภทมีประวัติ ที่มา ลักษณะ รูปแบบการบรรเลง การประสมวง และการเรียกชื่อที่แตกต่างกันสามารถจำแนกได้ 4 ประเภท ดังนี้

1.เครื่่องดีด
                                                                            กระจับปี่

          กระจับปี่ คือ พิณชนิดหนึ่งมี 4 สาย กะโหลกเป็นรูปรีแบน ทั้งด้านหน้า และด้านหลังทวนยาวเรียวโค้งมีนมรับนิ้วสำหรับกดสาย 11 นม ไม้ดีดทำด้วยเขาหรือกระดูกสัตว์ กระจับปี่เป็นเครื่องดนตรีโบราณ

  



                 ซึง
           ซึงมี 4 สายเหมือนกระจับปี่ มีรูปร่างคล้าย พิณวงเดือนของจีน (จีนเรียก เยอะฉิน) ของไทยทางภาคเหนือ เรียก ซึง ส่วนภาคอีสาน เรียกพิณอีสานเป็นเครื่องดนตรีพื้นเมืองภาคเหนือใช้ประสมวงกับปี่ซอ
  
                จะเข้
        เป็นเครื่องดีดที่มีเสียงกังวาน ไพเราะ สันนิษฐานว่า ปรับปรุงมาจากพิณ เพื่อให้นั่งดีดได้สะดวก ตัวจะเข้ทำด้วยไม้ขนุนท่อนเดียวมีเท้ารองตอนหัว 4 อัน ตอนปลายหาง อีก 1 อัน มี 3 สาย ไม้ดีดกลม ปลายแหลม ใช้ดีดไปบนสายที่พาดบนนม นม มี 11 อัน ประสมอยู่ในวง เครื่องสาย วงมโหรี
2.เครื่องสี
    ซอสามสาย
เป็นเครื่องดนตรีเก่าแก่ของไทย ในสมัยสุโขทัยเรียก ซอพุงตอ กะโหลกซอทำด้วยกะลามะพร้าวชนิดพิเศษ คือมีกะลานูนเป็นกระพุ้งออกมา 3 ปุ่ม ขึงหนังแพะหรือหนังลูกวัวปิดปากกะลาส่วนประกอบที่สำคัญนอกจาก หย่องซึ่งเป็นไม้สำหรับหนุนสายตรงหนังซอให้สายตุงออกมายังมีถ่วงหน้าตรงด้านซ้ายตอนบนซึ่งช่วยให้ซอมีความไพเราะ กังวาน ทั้งยังเป็นที่ประดับประดา อัญมณีเพื่อให้เกิดความสวยงาม ใช้บรรเลงประสมอยู่ ในวงขับไม้ วงมโหรี และวงดนตรีประกอบชุดโบราณคดี

   ซอด้วง
มี 2 สาย กะโหลกซอเดิมทำด้วยกระบอกไม้ไผ่ ในปัจจุบันนิยมใช้ไม้เนื้อแข็งเจาะกลึง ขึ้นหน้ากะโหลก ซอด้วยหนังงูเหลือม คันทวนตอนบนปาดปลาย ลักษณะคล้ายโขนเรือ มีลูกบิด 2 อันสอดคันชักระหว่าง สายซอ ทั้ง 2 เส้น เนื่องจากรูปร่างลักษณะของซอคล้ายด้วงดักสัตว์จึงเรียกว่า ซอด้วง ใช้ประสม ในวงเครื่องสาย และมโหรี ทำหน้าที่เป็นเครื่องนำวงในวงเครื่องสาย


   ซออู้
มี 2 สาย กะโหลกทำจากกะลามะพร้าวปาดข้าง และแกะสลักลวดลาย เพื่อเปิดให้มีช่องเสียง หุ้มหนัง ซอด้วย หนังแพะ หรือหนังลูกวัว คันทวนตั้งตรง ลักษณะเด่นของซออู้ คือ เสียงที่ทุ้มต่ำกังวาน ดำเนินการ บรรเลงให้มีท่วงทำนองอ่อนหวาน เศร้าโศกได้ดี ประสมอยู่ในวงเครื่องสาย วงมโหรี วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ วงปี่พาทย์ไม้นวม และวงดนตรีประกอบระบำชุดโบราณคดี

  สะล้อ
เป็นเครื่องดนตรีพื้นเมืองของภาคเหนือ มี 2-3 สาย ลักษณะคล้ายซออู้กับซอสามสายผสมกัน มีคันชัก อยู่ด้านนอก ใช้บรรเลงเดี่ยวบ้าง บรรเลงประสมกับซึงบ้าง หรือกับปี่ซอบ้าง เป็นต้น




3.เครื่องตี
                                                         ระนาดเอก

เป็นเครื่องดนตรีที่มีวิวัฒนาการมาจากกรับ โดยการนำกรับหลายอันที่มีขนาดแตกต่างกันมาร้อยเรียง และ แขวนบนรางระนาด ผืนระนาดทำจากไม้ไผ่บง ไม้ชิงชัน ไม้มะหาด ไม้พยุง เป็นต้น มีลูกระนาด 21-22 ลูก
เทียบเสียงด้วยการติดตะกั่วผสมขี้ผึ้ง มีไม้ตี 2 ชนิด ไม้แข็ง และไม้นวม โดยปกติจะตีพร้อมกัน ทั้ง 2 มือ เป็นคู่แปด ดำเนินทำนองเก็บถี่ โดยแปรจากทำนองหลัก(ฆ้อง) 



   ระนาดทุ้ม

เป็นเครื่องดนตรีที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 โดยประดิษฐ์เลียนแบบระนาดเอก แต่ใหญ่ กว้าง และเสียงทุ้มกว่า มีลูกระนาด 17-18 ลูก ทำหน้าที่ แปรทำนองหลักจากฆ้อง เป็นทาง และลีลาตลกคะนอง มีการขัด ล้อ ล้วงล้ำ เหลื่อม เป็นต้น ตีสอดแทรก 

ยั่วเย้า หยอกล้อ ไปกับเครื่องดำเนินทำนองให้สนุกสนาน



ฆ้องวงเล็ก

ประดิษฐ์ขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 เพื่อให้เข้ากับฆ้องวงใหญ่ มีขนาดเล็กกว่า แต่มีจำนวนลูกฆ้อง มากกว่า โดยมี 18 ลูก ทำหน้าที่ ดำเนินทำนองโดยแปรลูกฆ้อง ออกเป็นทำนองเต็ม ทำหน้าที่สอดแทรกทำนองในทางเสียงสูง


กลองทัด

เป็นกลองที่ชาวไทยทำขึ้นใช้แต่เดิมมีขนาดใหญ่ที่สุดในวงปี่พาทย์กลองชนิดนี้เป็น กลองสองหน้าขึงด้วยหนัง ตัวกลองทำด้วยไม้เนื้อแข็ง ข้างกลองมีห่วงสำหรับแขวนหรือตั้งขาหยั่ง 1 ห่วง เวลาตีใช้ตีเพียงหน้าเดียว ไม้สำหรับใช้ตีเป็นไม้รวก 2 ท่อน

4.เครื่องเป่า
   ปี่ เป็นเครื่องดนตรีที่มีมาแต่โบราณ มีลักษณะ และวิธีการเป่าที่เป็นเอกลักษณ์ทั้งยังเลียนเสียงคำพูดของคนได้ชัดเจน และใกล้เคียงที่สุด ปี่ที่กล่าวมานี้ มี 3 ชนิด คือ ปี่ใน ปี่กลาง และปี่นอก มีรูปร่างเหมือนกัน ต่างกันที่ขนาด

ปี่ในมีขนาดใหญ่ ใช้ บรรเลง ในวงปี่พาทย์ไม้แข็ง และประกอบการแสดงโขน ละคร

ปี่กลาง มีขนาดกลาง ใช้ บรรเลง ในวงปี่พาทย์ไม้แข็ง และประกอบการแสดงโขน หนังใหญ่ ซึ่งแสดง กลางแจ้ง

ปี่นอก มีขนาดเล็ก่ใช้ บรรเลง ใน วงปี่พาทย์ไม้แข็ง (ปัจจุบันไม่นิยมนำมาประสมวง) และวงปี่พาทย์ชาตรี ประกอบละครชาตรี โนรา หนังตะลุง






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น