ทำบุญ

วันศุกร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

เครื่องดนตรีพื้นบ้าน





สามารถจำแนกได้ 4 ภาค ดังนี้

1.เครื่องดนตรีพื้นบ้านภาคเหนือ


        สะล้อหรือ ทะล้อ เป็นเครื่องสายบรรเลงด้วยการสี ใช้คัน ชักอิสระ ตัวสะล้อที่เป็นแหล่งกำเนิด เสียง  ทำด้วยกะลามะพร้าว ตัดและปิดหน้าด้วยไม้บาง ๆ มีช่องเสียงอยู่ด้านหลัง คันสะล้อทำด้วย ไม้สัก หรือไม้เนื้อแข็งอื่น ๆ โดยปกติจะ ยาวประมาณ ๖๐ เซนติเมตร ลูกบิดอยู่ด้านหน้านิยม ทำเป็นสองสาย แต่ที่ทำเป็นสามสายก็ มีสาย ทำด้วยลวด (เดิมใช้สายไหมฟั่น ) สะล้อมี ๓ ขนาด คือ สะล้อเล็กสะล้อกลาง    และสะล้อใหญ่ ๓ สาย



       

      ซึง เป็นเครื่องสายชนิดหนึ่งใช้บรรเลงด้วยการดีด ทำ ด้วยไม้สักหรือไม้เนื้อแข็ง มีช่องเสียงอยู่      ด้านหน้า กำหนดระดับเสียงด้วยนมเป็นระยะ ๆ ดีด ด้วยเขาสัตว์บาง ๆ มีสายทำด้วยโลหะ เช่น ลวด      หรือทองเหลือง (เดิมใช้สายไหมฟั่น) ๒ สาย 



     ปี่ เป็นปี่ลิ้นเดียว ที่ตัวลิ้นทำด้วย โลหะเหมือนลิ้นแคน ตัวปี่ทำด้วยไม้ซาง ที่ปลายข้างหนึ่ง           ฝังลิ้นโลหะไว้เวลาเป่าใช้ปากอม ลิ้นที่ปลายข้างนี้ อีกด้านหนึ่งเจาะรู บังคับเสียงเรียงกัน ๖ รูใช้ปิดเปิด      ด้วยนิ้ว มือทั้ง ๒ นิ้ว เพื่อให้เกิดทำนองเพลง มี ๓ ขนาด ได้แก่ ขนาดใหญ่เรียก ปี่แม่ ขนาดรองลงมา       เรียก ปี่กลาง และขนาดเล็กเรียก ปี่ก้อย นิยม บรรเลงประสมเป็นวงเรียก วงจุมปี่  หรือปี่จุม  หรือบรรเลง     ร่วมกับซึงและสะล้อ




2.เครื่องดนตรีพื้นบ้านภาคอีสาน


       พิณ พื้นเมืองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีชื่อเรียกแตกต่างกัน เช่น ซุง หมากจับปี่ หมากต้องโต่ง และหมากตับแต่ง มีสายตั้งแต่ 2 - 4 สาย ชนิดที่มี 4 สาย ก็คล้ายกับซึงของภาคเหนือ แต่ปลายกะโหลกพิณป้านกว่า พิณพื้นเมืองภาคนี้ ทำด้วยไม้เนื้อแข็งประดิษฐ์ขึ้นอย่างง่าย ๆ ไม่สู้จะประณีตนัก ใช่เล่นเดี่ยว หรือเล่นร่วมกับวงแคน และโปงลาง





      โปงลาง เป็นเครื่องตี ทำด้วยไม้ร้อยต่อกันจำนวน 12 ท่อนด้วยเชือกเป็นผืน แต่ละท่อนมีขนาด และความยาวลดหลั่นกันตามลำดับ จากใหญ่ลงมาเล็ก เวลาเล่นใช้ด้านใหญ่ (ด้านบน) แขวนกับกิ่งไม้ หรือไม้ขาตั้ง ด้านเล็ก (ด้านล่าง) ใช้เท้าผู้เล่น หรือทำที่เกี่ยวยึดไว้ มักใช้ผู้เล่น 2 คน คนหนึ่งเล่นทำนองเพลงเรียก "หมอเคาะ" อีกคนหนึ่งทำหน้าที่เคาะประสานเสียงทำจังหวะเรียก "หมอเสิร์ฟ" โปงมีเสียง 5 เสียง คือ โด เร มี ซอล ลา ไม่มีเสียง ฟาและที



       แคน ทำด้วยไม้ซางขนาดต่าง ๆ นำมาเรียงลำดับผูกติดกันเป็น 2 แถว ๆ ละ 6 ลำบ้าง 7 ลำบ้าง หรือ 8 ลำบ้าง สุดแท้แต่ว่าจะเป็นแคนหก แคนเจ็ด หรือแคนแปด โดยเรียงลำใหญ่ไว้คู่หน้า และลำเล็ก ๆ เป็นคู่ถัดไปตามลำดับ และต้องเรียงให้กลางลำตรงที่ใส่ลิ้นอยู่ในระดับเดียวกัน แล้วเอาไม้จริงมาถากเจาะรูสำหรับเป่า (เรียกส่วนนี้ว่า "เต้า") เอาลำไม้ซางที่เรียงไว้สอดลงในเต้าให้พอดีกับตรงที่ใส่ลิ้นไว้ แล้วเอาชัน หรือขี้ผึ้งพอกกันลมรั่ว เหนือเต้าขึ้นไปประมาณ 4 - 5 ซม. เจาะรูด้านข้างของลำไม้ซางตั้งแต่คู่ที่ 2 เป็นต้นไป ลำละ 1 รู สำหรับนิ้วปิดเปิดเปลี่ยนเสียง ส่วนคู่แรก เจาะรูด้านหน้าเหนือเต้าขึ้นไปประมาณ 2 - 3 ซม. สำหรับนิ้วหัวแม่มือปิดเปิด การเป่าแคนต้องใช้ทั้งเป่าลมเข้า และดูดลมออก โดยเป่าตรงหัวเต้าด้านที่เจาะรูไว้ อาจกล่าวได้ว่า แคนเป็นเครื่องดนตรีสัญลักษณ์ของภาคอีสาน ประชาชนแถบนี้นิยมเป่าเล่นสืบต่อกันมาช้านาน ทั้งเล่นเดี่ยวคลอการร้อง และเล่นเป็นวงโดยผสมกับเครื่องดนตรีอื่น เช่น พิณ โปงลาง กลอง ฯลฯ ประกอบการแสดงพื้นบ้านภาคอีสานต่าง ๆ


         โหวด เป็นเครื่องเป่าไม่มีลิ้น ตัวโหวดทำด้วยไม้ไผ่รวก (หรือไม้เฮี้ย) ลำเล็ก ๆ สั้นยาวต่างกัน จำนวน 6 - 9 ลำ มัดติดกับกระบอกไม้ไผ่ที่เป็นแกนกลาง โดยใช้ขี้สุดติด แต่ละลำจะมีระดับเสียงแตกต่างกันตามขนาดสั้น ยาว ตามปกติโหวดมีเสียง 5 เสียง แต่เดิมใช้เชือกผูกปลายด้านหนึ่ง แล้วเหวี่ยงหมุนกลับไปกลับมา ทำให้เกิดเสียงโหยหวล ต่อมาใช้ปากเป่าเล่นเพลงพื้นบ้าน เป็นที่นิยมกันทั่วไปในแถบอิสาน



3.เครื่องดนตรีพื้นบ้านภาคกลาง
    ซอสามสาย
    ซอสามสาย เป็นซอ ที่มีรูปร่างงดงามที่สุด ซึ่งมีใช้ใน วงดนตรีไทยมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย (พ.ศ. ๑๓๕๐) แล้ว ซอสามสายขึ้นเสียง ระหว่างสายเป็นคู่สี่ใช้บรรเลงในพระราชพิธี อันเนื่องด้วยองค์พระมหากษัตริย์ ภายหลังจึง บรรเลงประสมเป็นวงมโหรี 
    ซอด้วง  
    ซอด้วง เป็นเครื่องสายชนิดหนึ่ง บรรเลงโดยการใช้คันชักสี กล่องเสียง ทำ ด้วยไม้เนื้อแข็ง ขึงหน้าด้วยหนังงู มีช่อง เสียงอยู่ด้านตรงข้าม คันทวนทำด้วยไม้เนื้อ แข็ง ยาวประมาณ ๖๐ เซนติเมตร มีลูกบิดขึ้นสาย อยู่ตอนบน ซอด้วงใช้สายไหมฟั่นหรือสาย เอ็น มี ๒ สาย ขนาดต่างกัน คันชักอยู่ระหว่าง สาย ยาวประมาณ ๕๐ เซนติเมตร ซอด้วงมีเสียงแหลม ใช้ เป็นเครื่องดนตรีหลักในวงเครื่องสาย 
    ขลุ่ย  
    ขลุ่ย ของไทยเป็นขลุ่ย ในตระกูลรีคอร์ดเดอร์ คือ มีที่บังคับแบ่งกระแส ลม ทำให้เกิดเสียงในตัวไม่ใช่ขลุ่ยผิว ตระกูลฟลุตแบบจีน ขลุ่ยไทยมีหลายขนาด ได้แก่ ขลุ่ยอู้ มีเสียงต่ำที่สุด ระดับกลาง คือ ขลุ่ย เพียงออ เสียงสูง ได้แก่ ขลุ่ยหลีบ และยังที่มี เสียงสูงกว่านี้คือ ขลุ่ยกรวดหรือขลุ่ยหลีบกรวด อีกด้วย ขลุ่ยเป็นเครื่องดนตรีในวงเครื่องสายและ วงมโหรี 
    จะเข้  
    จะเข้ เป็นเครื่องสาย ที่ใช้บรรเลงด้วยการดีด โดยปกติมีขนาดความ สูงประมาณ ๒๐ เซนติเมตร และยาว ๑๔๐ เซนติเมตร ตัว จะเข้ทำด้วยไม้เนื้ออ่อน ขุดเป็นโพรง มีสาย ๓ สาย สายที่ ๑-๒ ทำด้วยไหมฟั่น สาย ที่ ๓ ทำด้วยทองเหลือง วิธีการบรรเลงมือซ้าย จะทำหน้าที่กดสายให้เกิดเสียงสูง- ต่ำ ส่วนมือขวาจะดีดที่สายด้วยวัตถุที่ ทำจากงาสัตว์ 

4.เครื่องดนตรีพื้นบ้านภาคใต้

     
            ทับ เป็นเครื่องดนตรีที่มีความสำคัญ ในการให้จังหวะควบคุมการเปลี่ยนแปลงจังหวะและ เสริมท่ารำของการแสดงโนราให้ดีเยี่ยม ตัว ทับมีลักษณะคล้ายกลองยาว แต่มีขนาดเล็กกว่า มาก ยาวประมาณ ๔๐-๕๐ เซนติเมตร ทำด้วยไม้แก่น ขนุน หุ้มด้วยหนัง เช่น หนังค่าง หนังแมว ตรึงหนัง ด้วยเชือกด้ายและหวาย ทับใบหนึ่งจะมีเสียงทุ้ม เรียกว่า "ลูกเทิง" ส่วนอีกใบ หนึ่งจะ มีเสียงแหลมเรียกว่า "ลูกฉับ"


             กลองโนรา ใช้ประกอบการแสดงโนราหรือหนัง ตะลุง โดยทั่วไปมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของหน้า กลองทั้ง ๒ ด้าน ประมาณ ๑๐ นิ้ว และมี ส่วนสูงประมาณ ๑๒ นิ้ว กลองโนรานิยมทำด้วยแก่น ไม้ขนุน เพราะเชื่อว่าทำให้เสียงดี หนังที่ หุ้มกลองใช้หนังวัวหรือควายหนุ่ม ถ้าจะให้ ดีต้องใช้หนังของลูกวัวหรือลูกควาย มี หมุดไม้หรือภาษาใต้เรียกว่า "ลูกสัก" ตอกยึดหนังหุ้มให้ตึง มีขาทั้งสอง ขาทำด้วยไม้ไผ่มีเชือกตรึงให้ติดกับ กลอง และมี ไม้ตีขนาดพอเหมาะ ๑ คู่ ถ้า เป็นกลองที่ใช้ประกอบการแสดงหนังตะลุง จะมี ขนาดเล็กกว่า ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๖ นิ้ว และมีส่วนสูงประมาณ ๘ นิ้ว












2 ความคิดเห็น: