ทำบุญ

วันอังคารที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ขิม



                         ขิม (Hammered Dulcimer) เป็นเครื่องดนตรีตระกูลเดียวกับ "พิณ" มีต้นกำเนิดมาจากอาณา จักรเปอร์เซียโบราณเมื่อประมาณ 539-330 ปีก่อนคริสตกาล เข้าสู่เอเชียทางเส้นทางสายไหมไปสู่ประเทศจีน และอินเดีย จากนั้นจึงแพร่เข้าสู่ยุโรปและเริ่มมีกระจายไปทั่วโลก ชาวจีนเรียกขิมว่า "หยางฉิน" (Yang Ch'in) ชาวอินเดียเรียกว่า "ซันตูร์" (Santoor) ส่วนในภาษาอังกฤษเรียกว่า "ดัลไซเมอร์" (Dulcimer) ซึ่งหมายถึง เครื่องดนตรีประเภทพิณทุกประเภทที่ทำด้วยไม้ แล้วขึงสายโลหะ ขิมเป็นเครื่องดนตรีโบราณ น้อยคนนักจะ รู้ว่าเครื่องดนตรีชนิดนี้ถือเป็นต้นตระกูลของเปียโนเลยทีเดียว เพียงต่างกันที่กลไกจากดีดเป็นตีเท่านั้น
                        เมื่อเข้าสู่ประเทศจีน ชาวจีนได้ดัดแปลงรูปแบบของขิมเปอร์เซียให้มีรูปแบบเป็นของจีนใน สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีพ่อค้าชาวจีนแล่นเรือมาค้าขายในประเทศไทยและนำหยางฉินมาด้วยนักดนตรี ไทยพบเห็นเครื่องดนตรีชนิดนี้ตามโรงงิ้วในชุมชนชาวจีนแล้วเกิดติดใจจึงนำมาร่วมบรรเลงในวงดนตรีไทย ปรากฏว่ามีความไพเราะเข้ากันดีจึงจัดขิมให้อยู่ในวงเครื่องสายมีเรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับชื่อ "ขิม" ว่าคำนี้มีที่มาอย่างไร ทั้งๆ ที่ชาวจีนเรียกว่า "หยางฉิน" ส่วนชาวอินเดียเรียกว่า "ซันตูร์" และชาติอื่นๆ ก็มีชื่อ เรียกแตกต่างกันไปมากมาย ซึ่งไม่มีชาติไหนที่ออกเสียงได้คล้ายคลึงกับคำว่า ขิม เลย แล้วเหตุใดคนไทย จึงเรียกเครื่องดนตรีชนิดนี้ว่า "ขิม"
            
                         ลักษณะนาม  คือ  คำนามชนิดหนึ่งที่ทำหน้าที่ประกอบนามอื่น  เพื่อบอกรูปลักษณะ  ขนาด
หรือประมาณของนาม  มักใช้ตามหลังคำวิเศษณ์บอกจำนวนนับ  จะอยู่หลังตัวเลขบอกจำนวนในการใช้
ในการใช้ลักษณะนามนั้น  ต้องคำนึงถึงความถูกต้อง  ความนิยมของภาษาเป็นสำคัญ  เพราะลักษณะนาม ของนามบางอย่างบางชนิดไม่สามารถมาเป็นกฎตายตัวว่าคำนามชนิดนั้นต้องใช้ลักษณะนามอย่างนั้น
 ต้องดูส่วนอื่นประกอบด้วย  เช่น  บริบท ( คำที่อยู่รอบ ๆประโยค )  ผู้ใช้ลักษณะนามถูกต้อง จึงต้องเป็น ผู้สังเกตพิจารณา  และรอบรู้ในเรื่องต่าง ๆ
                         เริ่มที่การจับไม้ตีขิม จับโดยใช้นิ้วชี้แตะตรงส่วนล่างของไม้ตีขิม และนำนิ้วหัวแม่มือมาวาง ตรงด้านบนของไม้ตีขิม แล้วนำนิ้วที่เหลืออีก 3 นิ้วมาจับประคองไม้ตีขิมทางด้านล่าง เมื่อเวลาจะเริ่มตี ปฏิบัติโดยใช้ข้อมือ ขึ้น และ ลง ไป - มาสลับ ซ้าย และ ขวา โดยให้ลักษณะของปลายไม้จะมีการกระดก
ขึ้น - ลง อยู่ภายในอุ้มมือของผู้บรรเลง เวลาบรรเลงนั่งพับเพียบหลังขิม ลำตัวและใบหน้าตรง ตามองมุมต่ำ

1 ความคิดเห็น: