ทำบุญ

วันศุกร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

แคน

ประเภทของแคน
ประเภทของแคน อาจแบ่งได้หลายลักษณะ ในที่นี้จะแบ่งประเภทของแคน ใน 3 ลักษณะ คือ แบ่งตามจำนวนลูกแคน , แบ่งตามระดับเสียงหรือคีย์ แบ่งตามลิ้นแคนแบ่งตามจำนวนลูกจะได้ดังนี้
                แคนหก มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า แคนโก่ แต่ช่างทำแคนบางคนเรียกแคนสาม ประกอบด้วยลูกแคน 6 ลูก จัดเรียงเข้าอยู่ในเต้าเป็นสองแพ ซ้ายขวา แพละ 3 ลูก .....มีระบบเสียงอยู่ในมาตราเพนตะโทนิค ( Pentatonic Scale) เรียงระดับจากต่ำไปสูง 5 เสียง คือ ซอล ลา โด เร มี โดยเสียงซอล มี 2 ลูก เป็นคู่เสียงอ็อคเทฟ (คู่แปดเปอร์เฟคท์) ซึ่งกันและกัน ส่วนเสียงอื่นๆ เป็นเสียงเดี่ยวแคนหกเหมาะสำหรับบรรเลงทำนองเพลง ใน 2 บันไดเสียงคือ บันไดเสียงซีเมเจอร์ (C Major) และบันไดเอไมเนอร์ (A Minor) หรือพูดอีกนัยหนึ่งก็คือ แคนหกสามารถใช้เล่นทำนองที่มีเสียง โดออกสำเนียงเมเจอร์ และทำนองที่มีเสียง ลาออกสำเนียงไมเนอร์เป็นเสียงหลัก (tonic) ได้ .... การเทียบบันไดเสียง ในที่นี้ หมายถึง กรณีที่เสียง โด ตรงกับ C

แคนเจ็ด ประกอบด้วยลูกแคน 7 คู่ (14 ลูก) จัดเรียงเข้าอยู่ในเต้าเป็นสองแพ ซ้ายขวา แพละ7ลูก มีระบบเสียงอยู่ในมาตราไดอะโทนิค (Diatonic scale) เรียงระดับจากต่ำไปสูง 7 เสียง คือ ลา ที โด เร มี ฟา ซอล แต่ละเสียงมีคู่เสียงเป็นคู่แปดเฟอร์เฟคท์ หรือคู่เสียงอ็อคเทฟ ยกเว้นเสียง ซอล เป็นเสียงคู่ 1เปอร์เฟคท์ หรือเสียงคู่ยูนิซัน (unison) คือเป็นเสียงคู่ในระดับเสียงเดียวกัน แคนเจ็ด จึงมีสองช่วงทบ
เสียง ( 2 octaves) เรียงระดับจากต่ำไปสูงได้ 13 เสียง คือ ลา ที โด เร มี ฟา ซอล ลา ที โด เร มี ฟา (และซอลระดับเดิม) ทำให้แคนเจ็ดเหมาะสำหรับใช้บรรเลงทำนองใน 6 บันไดเสียง คือ บันไดโทนิค (tonic) บันได dominant และบันได subdominant ทั้งทางเมเจอร์ และทางไมเนอร์ ตัวอย่างเช่น สมมติแคนเจ็ดเต้าหนึ่งถูกประดิษฐ์ขึ้นให้เสียงโป้ซ้าย (ซึ่งคือโด) ตรงกับ เสียง C ของเปียโน หรือคีย์บอร์ด แคนเจ็ดเต้านั้น สามารถบรรเลงทำนองได้ในบันไดเสียง


แคนแปด ประกอบด้วยลูกแคน 8 คู่ (16 ลูก) จัดเรียงเข้าอยู่ในเต้าเป็นสองแพ ซ้ายขวา แพละ8ลูก มีระบบเสียงอยู่ในมาตราไดอะโทนิค(Diatonic scale) ครบ2ช่วงทบเสียงอย่างสมบูรณ์ แคนแปดวางตำแหน่งเสียงของลูกแคนเหมือนกับแคนเจ็ดทุกประการ เพียงแต่เพิ่มลูกแคนเข้ามาอีก 1 คู่ ( 2ลูก แพละลูก) ที่ด้านปลายนอกสุดของเต้าแคน คู่ที่เพิ่มเข้ามานี้ ใช้เป็นเสียงประสานยืน (drone) เรียกเสียงนี้ว่า เสียงเสพ หรือเรียกว่า เสพก้อย เพราะเวลาบรรเลง มักใช้นิ้วก้อยของผู้บรรเลงปิดรูนับ แต่หมอแคนผู้มีทักษะน้อยมักใช้ขี้สูดก้อนเล็กๆ ปิดรูนับเสียงเสพนี้ เพื่อให้ดังไปตลอดการบรรเลง เสียงเสพขวา เป็นเสียงลา(สูง) ใช้สำหรับประสานให้กับทำนองเพลงทางไมเนอร์ ส่วนเสียงเสพซ้าย เป็นเสียงซอล(สูง) ใช้สำหรับประสานให้กับทำนองเพลงทางเมเจอร์

แคนเก้า ประกอบด้วยลูกแคน 9 คู่ (18 ลูก) จัดเรียงเข้าอยู่ในเต้าเป็นสองแพ ซ้ายขวา แพละ9ลูก มีระบบเสียงอยู่ในมาตราไดอะโทนิค (Diatonic scale) ครบ 2 ช่วงทบเสียง กับมีเสียงเสพประสานยืนอีก 2 เสียงเหมือนแคนแปดทุกประการ แต่ได้เติมคู่เสพก้อยพิเศษเข้ามาอีก 1 คู่ เพื่อให้เสียงประสาน หนักแน่น กล่อมกันดียิ่งขึ้น ฟังดูคล้ายเป็นเสียงคอร์ดประสาน และยังช่วยให้ผู้บรรเลงเลือกใช้ให้เหมาะสมกับทำนองต่างบันไดเสียง หลายบันไดเสียงขึ้นไปอีกแคนเก้า นิยมทำให้มีความยาวอย่างน้อย เกือบเป็น2เท่าของแคนเจ็ดแคนแปด เหตุผลก็คือ เพื่อให้มีระดับชุดเสียงอยู่ในแนวทุ้มต่ำ ซึ่งหากทำแคนเก้าให้มีขนาดความยาวของลูกแคนเท่ากับแคนเจ็ดแคนแปด จะทำให้ระยะห่างระหว่างลิ้นแคน
กับรูแพว ของลูกเสพก้อยที่เพิ่มเข้ามาใหม่นั้น มีระยะแคบมาก จนทำให้ผู้เป่าควบคุมลมผ่านลิ้นไม่ได้ ทำให้เสียงดังตลอดเวลาแม้ไม่ได้ปิดรูนับ ซึ่งอาการเช่นนี้ ช่างทำแคนเรียกว่า ลิ้นนอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น