ทำบุญ

วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ฆ้องมอญ


                         ฆ้องมอญ เป็นฆ้องวงที่ตั้งโค้งขึ้นไปทั้งสองข้าง ไม่วางราบไปกับพื้นเหมือนกับฆ้องไทย วงฆ้องส่วนที่โค้งขึ้นไปนั้น แกะสลักเป็นลวดลายปิดทองประดับกระจกอย่างงดงาม ส่วนมากมักแกะเป็น รูปกินนร เรียกกันว่าหน้าพระ  ตอนกลางโค้งแกะเป็นกระหนกใบเทศปิดทองประดับกระจกเช่นกัน มีเท้า รองตรงกลางเหมือนกับเท้าของระนาดเอก ฆ้องมอญวงหนึ่ง ๆ มีจำนวน 15 ลูก สำหรับใช้บรรเลงใน วงปี่ พาทย์รามัญ หรือปี่พาทย์มอญ วงฆ้องมอญมีการแยกขนาดแบบไทย คือมีฆ้องมอญใหญ่ และ ฆ้องมอญเล็ก
                      ฆ้องเป็นเครื่องดนตรีเก่าแก่ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ดังมีภาพจารึก อยู่ที่หน้ากลอง มโหรทึก อายุราว 2,500 ปีมาแล้ว ซึ่งหน้าตาของฆ้องที่ปรากฎนั้นก็ยังเหมือนกับฆ้องที่เราพบเห็นกันอยู่ใน ปัจจุบันนี้
                      สำหรับฆ้องมอญแล้ว เป็นเครื่องดนตรีเก่าแก่ของมอญ เรียกว่าเป็นเครื่องดนตรีชิ้นครูก็ว่าได้ เพราะสามารถใช้เทียบเสียงในการตั้งเสียงเครื่องดนตรีชนิดอื่น ๆ ให้มีระดับเดียวกัน และกลมกลืน ขณะ บรรเลงร่วมกัน แม้ฆ้องจะมีอยู่ในวงดนตรีของหลายชาติหลายภาษาทว่ารูปแบบของฆ้องมอญ นั้นมีเอก ลักษณ์เฉพาะตัวที่โดดเด่นดังจะเห็นได้ว่าแต่เดิมในการบรรเลงดนตรีปี่พาทย์มอญ นั้นจะตั้งฆ้องเอาไว้หลัง สุด เพราะฆ้องมีความสูงจะได้ไม่บังเครื่องดนตรีและผู้เล่นคนอื่น แต่ในปัจจุบันกลับเปลี่ยนความนิยมใหม่ นำฆ้องมาวางข้างหน้า ยิ่งมากยิ่งดี เพราะต้องการแสดงให้เห็นความอ่อนช้อยสวยงามของร้านฆ้องมอญ อย่างการแสดงลิเกในปัจจุบันนั้นเห็นได้ชัดที่สุด มักนำฆ้องมอญขึ้นไปวางบรรเลงในชั้นบนจำนวนหลาย
ร้าน เต็มความกว้างของเวที ประดับประดาขนนกยูงเพิ่มความสวยงาม นับเป็นจุดขายอีกอย่างหนึ่ง
                          เป็นฆ้องวงที่ตั้งโค้งขึ้นไปทั้ง 2 ข้าง ไม่วางลงราบไปกับพื้น เหมือนฆ้องไทย ฆ้องมอญวงหนึ่งมีจำนวน 15 ลูก ร้านฆ้องวงมักประดิษฐ์แต่งกันอย่างสวยงาม เช่น แกะสลักเป็นลวดลาย ปิดทองประดับกระจก ฆ้องมอญใช้บรรเลงในวงปี่พาทย์มอญ ซึ่งในปัจจุบัน นิยมใช้บรรเลงประโคมในงานศพ ฆ้องมอญมี 2 ชนิด เช่นเดียวกับฆ้องวงของไทย คือ ฆ้องมอญวงใหญ่ และฆ้องมอญวงเล็ก
1. การบรรเลงฆ้องวง ผู้เล่นต้องนั่งให้ตรงกลางฆ้องวง วิธีการนั่ง นั่งได้ทั้งพับเพียบหรือขัดสมาธิ การจับ     ไม้ตีฆ้องวงผู้บรรเลงต้องรวบนิ้วกลางนิ้วนางและนิ้วก้อย กำไม้ฆ้องไว้กับฝ่ามือ ใช้นิ้วโป้งและ นิ้วชี้เป็น      ตัวประคอง ให้นิ้วชี้ชิดกับหัวไม้
2. การเก็บไม้ตีฆ้อง ควรมีถุงใส่ หรือวางรวมกันไว้บนลูกฆ้อง ไม่ควรวางกับพื้น
3. การทำความสะอาด ควรใช้ผ้าแห้งหรือผ้าหมาดๆทำความสะอาด
4. ควรวางฆ้องวงให้ราบกับพื้น ไม่ควรวางหรือตั้งพิงไว้ข้างฝาผนัง เพราะอาจทำให้ฆ้องวงล้มอาจหักได้
5. การยกฆ้องวง ไม่ควรยกเพียงคนเดียวเนื่องจากเป็นเครื่องตีที่มีน้ำหนักมากและขนาดใหญ่ ควรจะยกฆ้อง     ให้ตั้งฉาก หรือขนานกับพื้น ห้ามกับด้าน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น