ทำบุญ

วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

รำมะนา


                       เครื่องดนตรีไทยประเภทเครื่องตีชนิดหนึ่งใช้บรรเลงร่วมกับโทน ทำจากไม้เนื้อแข็งและ
หนังสัตว์เป็นหลัก โดยคัดเลือกไม้ที่เป็นชนิดและอายุที่เหมาะสม นำมากลึงและคว้าน ผึ่งให้แห้ง ขัดผิวให้
เรียบทั้งด้านนอกและด้านใน ทาสารเคลือบเงาเพื่อความสวยงาม ขึ้นหน้ากลองด้วยหนังสัตว์ แล้วนำไป
ทดสอบคุณภาพเสียงเพื่อให้ได้เสียงมาตรฐานตามที่ต้องการ สามารถนำไปบรรเลงในวงดนตรีไทย
ประเภทต่างๆ และบรรเลงตามโอกาสต่างๆ ได้จริง
                         หุ่นรำมะนา หน้ารำมะนา และหมุด ต้องเป็นกลองหน้าเดียว หุ่นรำมะนามีลักษณะคล้าย ชามทำจากไม้ที่เป็น ชนิดและอายุที่เหมาะสม ขึ้นหน้า ด้วยหนังสัตว์ หมุดที่ใช้ตรึงหน้ากลองต้องเหมาะสม เนื้อไม้ต้องเรียบ ไม่ปรากฏข้อบกพร่อง เช่น รอยร้าว รอยแตก ร่องรอยการเจาะกัดกินของแมลง
                         นั่งขัดสมาธิ ให้ตัวรำมะนาวางลงกับพื้น หน้าผู้ตี โดยหันหน้าหนังออก ตีทั้งฝ่ามือบริเวณใกล้ขอบ กลอง ส่วนมือซ้าย ใช้ประคองตัวรำมะนา และในขณะเดียวกันใช้ ปลายนิ้วทั้งสี่ ตีลงที่ขอบหนัง สอดสลับกับมือขวา มีลักษณะวิธีทำให้เสียงดังนี้
1. เสียงพรึม หรือ เสียงทิง คือการใช้ฝ่ามือขวา ที่นิ้วทั้งสี่เรียงชิดติดกัน ตีลงที่หน้าหนังใกล้ขอบด้วยกำลังแรงพอ     ประมาณ เพราะหน้ากลองกว้างใหญ่ ตีแล้วเปิดมือออกทันที เพื่อให้เสียงดังกังวาน
2. เสียงจํง คือการตีที่ใช้ปลายนิ้วทั้งสี่ของมือขวา ตีลงบริเวณขอบกลอง ตีแล้วเปิดมือ ออกให้เสียงกังวาน
3. เสียงติง คือการตีด้วยปลายนิ้วทั้งสี่ที่เรียงชิดติดกัน ลงบริเวณใกล้ขอบกลอง และใช้ ปลายนิ้วทั้งสี่ของมือ
    ซ้ายกดหน้าหนังไว้เสียงติงจะชัดขึ้น
4. เสีงเถอะ คือการตีด้วยมือขวา โดยตีลง แล้วห้ามเสียง โดยกดนิ้วทั้งสี่แนบลงกับหน้า หนังจะใช้ตีหน้าทับลาว
5. เสียงสอดสลับ คือการตีด้วยมือซ้ายโดยใช้ ปลายนิ้วทั้งสี่ตีที่ที่ขอบหนัง ใน ขณะเดียวกันก็ใช้สันมือ
    ประคองตัวรำมะนาไปด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น