ทำบุญ

วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ระนาดทุ้ม



                          ระนาดทุ้ม กำเนิดในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตน โกสินทร์ โดยประดิษฐ์ขึ้นให้เป็นเครื่องดนตรีที่มีระดับเสียงทุ้มต่ำ ทั้งนี้เพื่อคู่กับระนาดเอก ซึ่งเป็นเครื่อง ดนตรีที่มีเสียงสูง รางระนาดทุ้มมีรูปร่างคล้ายหีบไม้ยาว แต่เว้าตรงกลางให้โค้งมีโขนปิดหัวท้ายรางเพื่อเป็น
ี ที่แขวนผืนระนาด เช่นเดียวระนาดเอก แต่แตกต่างกันที่รูปทรง รางระนาดทุ้มทำด้วยไม้ เช่น ไม้สัก ไม้ประดู่ ไม้มะเกลือ ไม้มะริด เป็นต้น โดยที่ส่วนประกอบต่างๆ คล้ายคลึงกับระนาดเอก ส่วนที่มีลักษณะแตกต่าง ออกไป คือ ตัวรางนั้นมีลักษณะคล้ายรางข้าวหมู ปลายผายออก โค้งเล็กน้อย ด้านในเจาะรูเพื่อ ติดตะขอ ซึ่ง ทำด้วยโลหะ ด้านหัวเป็นตะของอ ด้านปลายตีเกลียวแหลม มีแผ่นเหล็กกลมกั้นยึดเพื่ออุ้มเสียงให้ดังก้องกัง
โขนระนาดทุ้มทั้งสองข้างติดยึดไว้กับไม้ฝาประกบ 2 อัน และมีไม้แผ่นอีกอันหนึ่งปิดใต้ท้องรางโดยตลอด เพื่ออุ้มเสียงให้ดังก้องกังวาน ที่ไม้ปิดท้องรางด้านล่างมีไม้ทำเป็นขารองรับตัวราง 4 เท้า ติดอยู่ที่มุมทั้ง 4 ด้าน ที่ไม้ฝาประกบด้านบนและล่างมีไม้ทำเป็นคิ้วขอบรางประกบติดโดยตลอด และบนคิ้วขอบรางตอนบน ใช้หวายต้นเล็กๆ พันด้วยผ้าตอกติดเพื่อรองรับผืน เรียกว่า หมอน และนอกจากจะทาน้ำมันลงแล็กเกอร์แล้ว ยังตีเส้นสีดำหรือสีขาวเดินตามขอบคิ้วตลอดถึงโขนทุ้มทั้งสองด้วย
                         ระนาดทุ้ม เป็นเครื่องดนตรีที่เกิดขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นเครื่องดนตรีที่มีเสียงทุ้มต่ำกว่าระนาดเอก โดยประดิษฐ์เลียนแบบระนาดเอก แต่ลูกระนาดมีขนาดใหญ่และยาวกว่า เพื่อให้เกิดความแตกต่างในเรื่องของความสูงต่ำของเสียง ลักษณะ ของรางระนาดทุ้มมีความยาวประมาณ 125 เซนติเมตร และจะแตกต่างจากระนาดเอก คือ รางระนาดทุ้ม ด้านบนจะเว้า ส่วนด้านล่างจะตรง แต่รางของระนาดเอกขอบของ รางระนาดเอกจะขนานกันทั้งด้านบน และด้านล่าง ระนาดทุ้มมีเท้ารอง 4 เท้า ผืนระนาดทุ้มทำด้วยไม้ไผ่ ต่อมาได้มีผู้นำไม้ จริงมาทำผืนระนาดทุ้ม แต่ไม่ค่อยได้รับความนิยมเหมือนทำด้วยไม้ไผ่ ลูกระนาดทุ้มมีจำนวน 17 – 18 ลูก ลูกที่ 17 ตรงกับเสียง
“ ซอล” และเรียกลูกที่ 17 นี้ว่า ลูกหลิบ หรือ ลูกหลีก ไม้ตีระนาดทุ้มมีอยู่ชนิดเดียว มีลักษณะคล้ายกับ ไม้ตีระนาดเอกชนิดไม้นวม แต่มีความอ่อนนุ่ม และใหญ่กว่าระนาดทุ้ม ใช้ผสมอยู่ในวงปี่พาทย์ไม้แข็ง
ปี่พาทย์ไม้นวม ปี่พาทย์มอญ ปี่พาทย์นางหงส์ วงมโหรี
1. ลักษณะการบรรเลงระนาดผู้บรรเลงนั่งพับเพียบหรือขัดสมาธิ  โดยให้ลำตัวอยู่กึ่งกลางของเท้าระนาดการ     จับไม้ระนาด ให้นิ้วชี้อยู่ด้านบนของก้านไม้ นิ้วโป้งอยู่ด้านข้างนิ้วกลาง นิ้วนาง นิ้วก้อยกำอยู่ใต้ไม้
2.เมื่อบรรเลงเสร็จต้องปลดเชือกคล้องหูระนาดด้านซ้ายมือลงเพื่อป้องกันไม่ให้เชือกรับน้ำหนักของ
   ผืนตลอดเวลา
3. ควรเก็บไม้ระนาดไว้ใต้ราง ไม่วางทิ้งบนพื้น หรือวางบนผืนระนาด เพราะอาจจะหักได้ ในกรณีนั่งทับ
4. การเคลื่อนย้ายระนาดควรใช้การยก แทนการลากหรือดึง เพราะจะทำให้ระนาดล้ม อาจเสียหาย ได้
5. ถ้าตะกั่วใต้ผืนระนาดหลุด ควรใช้ไม้ขีดไฟ หรือไฟแช็ค ลนเพื่อให้ตะกั่วอ่อนตัว แล้วติดไว้ตามเดิมห้าม     ใช้เทียนไขลนเพราะอาจทำให้น้ำตาเทียนหยดผสมกับตะกั่วทำให้ลื่นและติดไม่อยู่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น