ทำบุญ

วันอังคารที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

กลองยาว

ประวัติกลองยาว
           กลองเป็นเครื่องมือตีทำด้วยไม้เป็นต้น มีลักษณะกลมกลวง ขึงด้วยหนังมีหลายชนิด ถ้าทำด้วยหนังหน้าเดียว มีรูปยาวมากใช้สะพายในเวลาตี เรียกว่ากลองยาวหรือเถิดเทิง ถ้าขึงด้วยหนังหน้าเดียว มีรูปกลมแบนและตื้น เรียกว่า กลองรำมะนา ถ้าขึงหนัง 2 หน้า ร้อยโยงด้วยสายหนัง เรียกว่ากลองมาลายู ถ้าร้อยโยงด้วยหวาย เรียกว่า กลองแขก กลองขนะ
ประวัติกลองยาว
           กลองยาวได้แบบอย่างมากจากพม่า ในสมัยกรุงธนบุรี หรือต้นกรุงรัตนโกสินทร์ สมัยที่ไทยกับพม่ากำลังทำสงครามกัน เวลาพักรบ พวกทหารพม่าก็เล่น "กลองยาว" กันสนุกสนาน พวกชาวไทยได้เห็นก็จำแบบอย่างมาเล่นบ้าง แต่บางท่านก็เล่าว่า กลองยาวของพม่าแบบนี้ มีชาวพม่าพวกหนึ่งนำเข้ามาเล่นในงานที่มีกระบวนแห่ เช่น บวชนาค ทอดกฐิน เป็นต้น และนิยมเล่นกันเป็นที่รื่นเริง สนุกสนานในเทศกาลสงกรานต์ และเล่นกันแพร่หลายไปแทบทุกหัวบ้านหัวเมือง วงหนึ่งๆ จะใช้กลองยาวหลายลูกก็ได้ เครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงร่วม มี ฉิ่ง, ฉาบเล็ก, กรับ, โหม่ง เรียกการเล่นชนิดนี้ว่า "เถิดเทิง" หรือ "เทิงกลองยาว" ที่เรียกเช่นนี้เข้าใจว่าเรียกตามเสียงกลองที่ตีและตามรูปลักษณะกลองยาว
การทำกลองยาวในต่างประเทศ
           กลองยาวแบบนี้ของพม่าเรียกว่า "โอสิ" (OZI) และของชาวไทยอาหมในแคว้นอัสสัมก็มี ลักษณะคล้ายคลึงกัน แต่กลองยาวของชาวไทยอาหมรูปร่างคล้ายตะโพน คือ หัวท้ายเล็กป่องกลางและเล็กกว่าตะโพน ขึ้นหนังทั้งสองข้าง ผูกสายตีได้ ตามที่ได้เห็นวิธีเล่น ทั้งกลองยาวของพม่า และกลองของชาวไทยอาหม สังเกตดูเห็นเล่นเป็นแบบเดียวกัน อาจจะเลียนอย่างจากกันก็ได้

วัตถุที่ใช้ทำกลองยาว
1. ไม้จริง ใช้ทำตัวกลอง ตอนหน้าใหญ่ ตอนท้ายลักษณะเรียวแล้วบาน
ตอนปลาย เป็นรูปดอกลำโพง มีหลายขนาด
2. ข้าวสุก ใช้ติดตรงกลางของหน้ากลอง โดยบดผสมขี้เถ้าเพื่อถ่วงเสียง
3. ผ้าสีหรือ ใช้หุ้มตกแต่งกลองให้สวยงาม
4. หนังสัตว์ ใช้ทำหนังกลอง
5. สายสะพาย ใช้ผูกกลองไว้คล้องสะพายบ่า
วิธีเล่นกลองยาว
ก่อนเล่นมีการบูชาไหว้ครูโดยจุดธูปเทียนดอกไม้ สุรา และเงิน 12 บาท
1. การเล่นใช้คนเล่นทั้งหมด 18 คน
1. คนตีกลอง 9 คน
2. คนรำ 6 คน
3. คนตีฆ้อง, โหม่ง, ฉาย 3 คน
2. นั่งล้อมวงติดถ่วงเทียบเสียงกลอง (ถ่วงด้วยข้าวสุก ตำกับขี้เถ้าให้ละเอียดหรือเหนียว)
3. เริ่มเล่นโหม่งตีจังหวะให้สัญญาณขึ้นเพลง เพลงที่จะเล่นมีประมาณ 5 เพลง
1. เพลงม้าย่อง
2. เพลงหรั่งย่ำเท้า
3. เพลงแขก
4. เพลงเซิ้งกระติ๊บ
5. เพลงเซิ๊งสวิง
4. ในระหว่างขึ้นเพลง นักรำจะทำการร่ายรำไปตามเพลงแต่ละชนิด
5. เวลาจบหัวหน้าที่อยู่ในหมู่กลองเร่งเตือนว่าจะลงกลองเพื่อจบหรือหยุดเล่น
วัตถุที่ใช้ทำกลองยาว
1. ไม้จริง ใช้ทำตัวกลอง ตอนหน้าใหญ่ ตอนท้ายลักษณะเรียวแล้วบานตอนปลาย
เป็น รูปดอกลำโพง มีหลายขนาด
2. ข้าวสุก ใช้ติดตรงกลางของหน้ากลอง โดยบดผสมขี้เถ้าเพื่อถ่วงเสียง
3. ผ้าสีหรือ ใช้หุ้มตกแต่งกลองให้สวยงาม
4. หนังสัตว์ ใช้ทำหนังกลอง
5. สายสะพาย ใช้ผูกกลองไว้คล้องสะพายบ่า
โอกาสที่เล่น
การเล่นกลองยาวเป็นการเล่นที่นิยมอย่างแพร่หลาย ในจังหวัดนนทบุรีมีการเล่นกลองยาวตามอำเภอต่าง ๆ โดยจะเล่นในขบวนแห่นาค ขบวนทอดผ้าป่า งานรื่นเริง ปัจจุบันมีการประกวดแข่งขันการเล่นกลองยาวของแต่ละอำเภอในงานต่าง ๆ เช่น ในวันสงกรานต์ เป็นต้น
อุปกรณ์และวิธีเล่น
กลองยาวเป็นกลองหน้าเดียว รูปร่างทรงยาว ด้านล่างกลึงเป็นรูปคล้ายปากแตร ส่วนบนป่องเล็กน้อยปิดด้วยหนังวัว ขึงด้วยเชือกให้ตึง กลองยาวมีหลายขนาดขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของผู้เล่น ตกแต่งด้วยผ้าสีสวยงาม มีสายสะพายคล้องบ่าเพื่อสะดวกในการเดินตีผู้เล่นกลองยาวจะใช้มือตีทั้งสองมือ บางครั้งตีแบบโลดโผนเพื่อความสนุกสนาน ใช้กำปั้น ศอก เข่า ศีรษะ หรือต่อตัวในการตีกลอง ซึ่งต้องใช้ทักษะและความชำนาญในการตี

ก่อนเล่นมีการบูชาไหว้ครูโดยจุดธูปเทียนดอกไม้ สุรา และเงิน 12 บาท
การเล่นใช้คนเล่นทั้งหมด 18 คน
1. คนตีกลอง 9 คน
2. คนรำ 6 คน
3. คนตีฆ้อง, โหม่ง, ฉาบ 3 คน
4. นั่งล้อมวงติดถ่วงเทียบเสียงกลอง (ถ่วงด้วยข้าวสุก ตำกับขี้เถ้าให้ละเอียดหรือ เหนียว) เริ่มเล่นโหม่งตีจังหวะให้สัญญาณขึ้นเพลง เพลงที่จะเล่นมีประมาณ 5 เพลง
1. เพลงม้าย่อง
2. เพลงหรั่งย่ำเท้า
3. เพลงแขก
4. เพลงเซิ้งกระติ๊บ
5. เพลงเซิ๊งสวิง
ในระหว่างขึ้นเพลง นักรำจะทำการร่ายรำไปตามเพลงแต่ละชนิดเวลาจบหัวหน้าที่อยู่ในหมู่กลองเร่งเตือนว่าจะลงกลองเพื่อจบหรือหยุดเล่น
คุณค่า
การเล่นกลองยาวเป็นการเล่นที่แสดงความพร้อมเพรียงสามัคคีในหมู่คณะ เนื่องจากเป็นการเล่นเป็นกลุ่มต้องการเสียง หรือจังหวะที่พร้อมกัน ให้ความสนุกสนานรื่นเริงทั้งผู้เล่นและผู้ชม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น