ทำบุญ

วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

กลองสะบัดชัย



                       เป็นกลองที่มีมานานแล้วนับหลายศตวรรษ ในสมัยก่อนใช้ ตียามออกศึกสงคราม เพื่อเป็น สิริมงคล และเป็น ขวัญกำลังใจให้แก่เหล่าทหารหาญในการต่อ สู้ให้ได้ชัยชนะ ทำนองที่ใช้ในการตีกลอง สะบัดชัยโบราณมี 3 ทำนอง คือ ชัยเภรี, ชัย ดิถี และชนะมารการตีกลองสะบัดชัยเป็นศิลปะการแสดงพื้นบ้านล้านนาอย่างหนึ่ง ซึ่งมักจะพบเห็นในขบวนแห่หรืองานแสดงศิลปะพื้นบ้านในระยะหลังโดยทั่วไป ลีลาใน การตีมีลักษณะโลดโผนเร้าใจมีการใช้อวัยวะหรือส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่นศอก เข่า ศีรษะ ประกอบในการ ตีด้วย ทำให้การแสดงการตีกลองสะบัดชัยเป็นที่ประทับใจของผู้ที่ได้ชม จนเป็นที่นิยมกันอย่างกว้างขวาง ในปัจจุบัน
             
                       รูปร่างลักษณะกลองสะบัดชัย รูปร่างลักษณะแต่เดิมนั้น คือกลองสะบัดชัยจำลอง
ทำด้วยสำริด ขุดพบที่ ตำบลบ้านหลวง อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ กลองสะบัดชัยดังกล่าว ประกอบ ด้วยขนาดกลองสองหน้าเล็ก 1 ลูก กลองสองหน้าขนาดใหญ่ 1 ลูก ฆ้องขนาดหน้ากว้างพอ ๆ
กับกลองใหญ่อีก 1 ใบ พร้อมไม้ตีอีก 3 อัน หน้ากลองตรึงด้วยหมุดตัดเรียบมีคานหามทั้งกลอง
และฆ้องรวมกัน ส่วนที่พบโดยทั่วไป คือกลองสะบัดชัยที่แขวนอยู่ตามหอกลองของวัดต่าง ๆ
ในเขตล้านนา ซึ่งมักจะมีลักษณะเหมือนกัน คือมีกลองสองหน้าขนาดใหญ่ 1 ลูก หน้ากว้าง
ประมาณ 30 – 35 นิ้ว ยาวประมาณ 45 นิ้ว หน้ากลองหุ้มด้วยหนังตรึงด้วยหมุด ( ล้านนาเรียก ‘' แซว่ ) โดยที่หมุดไม่ได้ตัดเรียบคงปล่อยให้ยาวออกมาโดยรอบ ข้าง ๆ กลองใหญ่ มีกลองขนาดเล็ก 2 - 3
ลูก เรียกว่า ลูกตุบ ‘' กลองลูกตุบทั่วไปมักมีสองหน้าบางแห่งมีหน้าเดียว ขนาดหน้ากว้างประมาณ
8 - 10 นิ้ว ความยาวประมาณ 12 – 15 นิ้ว หน้ากลองหุ้มด้วยหนังตรึงด้วยหมุดเช่นกัน
1. ในกรณีกลองประเภทที่ต้องใช้ข้าวติดหน้ากลองให้ทำความสะอาดโดยการใช้ผ้าเปียกน้ำพอหมาดๆเช็ด      หน้ากลองให้สะอาด
2. นำกลองที่ทำความสะอาดแล้วใช้ผ้าคุมหรือนำผ้าไปตัดเป็นถุงใส่ เพื่อกันความชื้น
3. ตรวจสอบคุณภาพความตึงของเสียงกลองให้ได้มาตรฐานอยู่เสมอ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น